วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เก็บตกแนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณปีก่อนๆ

แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณปี 51-54 (เท่าที่รุ่นพี่จำออกมา) บางข้อก็มีแค่คำตอบเพราะจำตัวเลือกไม่ได้ ลองเอาไปลองทำดูค่ะ
1. งานสารบรรณคืออะไร…….(ปี 54)

2. ข้อใดไม่เป็นหนังสือราชการ (ปี 53)

ก. แผ่นซีดีอ่านอย่างเดียวที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ความสงบไว้เป็นหลักฐาน

ข. กฤตภาคข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำเสนอรายงานต่อผู้บังคับบัญชา

ค. บันทึกการส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ง. หนังสือร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประชาชนได้นำมายื่นต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

3. ใครเป็นผู้รักษาการ ตามระเบียบสำนักงานนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ที่แก้ไขเพิ่มเติมและมีอำนาจหน้าที่อย่างไร (ปี 53)

ก.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจในการตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบ

ข. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ

ค.นายกรัฐมนตรี มีอำนาจในการตีความและวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบ

ง. นายกรัฐมนตรี มีอำนาจแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณตามความเหมาะสม

4. คำขึ้นต้นและคำลงท้ายหนังสือที่มีถึงนายกใช้อย่างไร...... (ปี 54)

5. รหัสพยัญชนะย่อของสำนักงานตำรวจแห่งชาติคืออะไร........ (ปี 54)

6. หนังสือของคณะกรรมการจะเนินการอย่างไร (ปี 53)

ก. ให้ลงชื่อคณะกรรมการเป็นส่วนราชการเจ้าของหนังสือ

ข. ออกเลขทะเบียนหนังสือส่งที่หน่วยงานสารบรรณกลาง

ค. หากกำหนดรหัสพยัญชนะประจำคณะกรรมการเพิ่มเติมให้ใส่ต่อจากรหัสพยัญชนะของเจ้าของเรื่อง

ง. ให้ประธานกรรมการเท่านั้นเป็นผู้ลงชื่อในหนังสือ

7. กรณีข้าราชการตำรวจชั้นประทวนจะมีบันทึกถึงผู้บังคับบัญชาจะใช้คำขึ้นต้นว่าอย่างไร (ปี 53)

ก. เรียน

ข. เสนอ

ค. กราบเรียน

ง. ถึง

8. การเขียนหนังสือราชการถึงรัฐมนตรีใช้คำขึ้นต้น-ลงท้าย อย่างไร (ปี 52)

ตอบ เรียน-ขอแสดงความนับถือ

9. ผบ.ตร. ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ รอง ผบ.ตร. เป็นผู้ทำหน้าที่แทนเรียกว่าอะไร (ปี 52)

ตอบ รักษาราชการแทน

10. การเรียงตามลำดับชื่อและตำแหน่งในหนังสือราชการ ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร (ปี 52)

ตอบ ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ ฐานันดรศักดิ์

11. รหัสพยัญชนะประจำ กรุงเทพมหานคร เป็นอย่างไร (ปี 52)

ตอบ กท (ไม่มีจุด)

12. คำขึ้นต้นลงท้ายในหนังสือที่เขียนถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นอย่างไร (ปี 51)

ตอบ เรียน-ขอแสดงความนับถือ

13. หนังสือภายนอกแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับหนังสือภายในข้อใด (ปี 53)

ก. ที่ตั้ง สิ่งที่ส่งมาด้วย อ้างถึง

ข. ที่ ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง

ค. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ที่

ง. การกำหนดรหัสพยัญชนะของเจ้าของเรื่อง

14. ผบ.ตร. มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ใช้หนังสือประเภทใด (ปี 51)

ตอบ หนังสือภายนอก

15. หนังสือใดไม่ใช้กระดาษตราครุฑ (ปี 51)

ตอบ หนังสือภายใน

16. ส่วนประกอบใดไม่ต้องมีในหนังสือภายใน (ปี 51)

ตอบ ไม่ต้องมีอ้างถึง

17. การลงชื่อเรื่องในหนังสือภายในเป็นอย่างไร (ปี 51)

ตอบ ให้ลงเรื่องย่อที่สั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น

18. หนังสือประทับตราใช้อย่างไร.... (ปี 54)

19. การจัดทำหนังสือราชการที่เป็นการตอบรับไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงินต้องเสนอผู้ใดลงนาม (ปี 53)

ก. หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง

ข. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม

ค. หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง

ง. หัวหน้าส่วนราชการระดับกองที่ได้มอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป

20. หนังสือประทับตรา คืออะไร (ปี 52)

ตอบ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการะดับกรมขึ้นไป

21. การลงวันที่ในหนังสือประทับตรา ทำอย่างไร (ปี 51)

ตอบ วัน เดือน ปี ให้ลงของ วันที่ ชื่อเต็มของเดือนและตัวเลขของปี

22. ใครเป็นผู้ลงชื่อย่อกำกับตราในหนังสือประทับตรา (ปี 51)

ตอบ หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา

23. หนังสือประทับตราใช้ในกรณีใด (ปี 51)

ตอบ กรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ได้แก่

1. การขอรายละเอียดเพิ่มเติม

2. การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร

3. การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงิน

4. การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ

5. การเตือนเรื่องที่ค้าง

6. เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่งให้ใช้หนังสือประทับตรา

24. วันที่ท้ายคำสั่งเขียนอย่างไรที่ถูกต้อง (ปี 52)

ตอบ สั่ง ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2554

25. หนังสือสั่งการมีกี่ชนิดอะไรบ้าง (ปี 51)

ตอบ มี 3 ชนิดได้แก่ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ

26. หนังสือใดบ้างที่ต้องมี ประกาศ ณ วันที่” (ปี 53)

ก. คำสั่ง ข้อบังคับ ระเบียบ

ข. ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับ

ค. ข่าว ข้อบังคับ ระเบียบ

ง. ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ

27. หนังสือประชาสัมพันธ์ (ปี 51)

ตอบ มี 3 ชนิด คือ ประกาศ แถลงการณ์ ข่าว

28. บรรดาข้อความที่ทางราชการได้ชี้แจง เผยแพร่ให้ประชาชนทราบแนวทางปฏิบัติในสถานการณ์ที่มีการชุมนุมเรียกร้องต่างๆ สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรใช้หนังสือชนิดใด (ปี 53)

ก. ประกาศ

ข. แถลงการณ์

ค. ข่าว

ง. คำชี้แจง

29. การรับรองรายงานการประชุม แบบเร่งด่วนทำอย่างไร...... (ปี 54)

30. รายละเอียดของรายงานการประชุม มีอะไรบ้าง..... (ปี 54)

31. ผู้ใดต้องลงลายมือชื่อรับผิดชอบการจัดทำรายงานการประชุมตามระเบียบงานสารบรรณ (ปี 53)

ก. ผู้จดรายงานการประชุม

ข. ผู้จดและผู้ตรวจรายงานการประชุม

ค. ผู้ตรวจและผู้พิมพ์รายงานการประชุม

ง. ผู้ตรวจ ผู้ร่าง และผู้พิมพ์รายงานการประชุม

32. หนังสืออื่น หมายถึง (ปี 52)

ตอบ ภายถ่ายฟิล์ม แถบบันทึกเสียง

33. หนังสือเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการเป็นอย่างไร (ปี 51)

ตอบ เป็นหนังสือที่ทางราชการทำขึ้นนอกจากหนังสือที่กล่าวมาแล้วข้างต้น (หนังสือภายนอก หนังสือภายใน หนังสือประทับตรา หนังสือสั่งการ หนังสือประชาสัมพันธ์) หรือหนังสือที่หน่วยอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ และส่วนราชการรับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการ หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการ มี 4 ชนิด คือ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก หนังสืออื่น

34. แบบรายงานการประชุมประกอบด้วยอะไรบ้าง (ปี 51)

ตอบ รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน รายงานการประชุม มีส่วนประกอบสำคัญดังนี้

          1. รายการการประชุม ให้ลงชื่อคณะที่ประชุมหรือชื่อการประชุมนั้น

          2. ครั้งที่ ให้ลงครั้งที่ประชุม

          3. เมื่อ ให้ลงวัน เดือน ปีที่ประชุม

          4. ให้ลงสถานที่ที่ประชุม

          5. ผู้มาประชุม ให้ลงชื่อและตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็น คณะที่ประชุมซึ่งมาประชุมในกรณีที่มีผู้มาประชุมแทนให้ลงชื่อมาประชุมแทน และลงว่ามาประชุมแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด

          6. ผู้ไม่มาประชุม ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม ซึ่งมิได้มาประชุมพร้อมทั้งเหตุผล (ถ้ามี)

          7. ผู้เข้าร่วมประชุม ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ที่มิได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม ซึ่งได้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี)

          8. เริ่มประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุม

          9. ข้อความ ให้บันทึกข้อความที่ประชุม โดยปกติให้เริ่มต้นด้วยประธานกล่าวเปิดประชุม และเรื่องที่ประชุม กับมติหรือข้อสรุปของที่ประชุมในแต่ละเรื่องตามลำดับ

          10. เลิกประชุมเวลาให้ลงเวลาที่เลิกประชุม

          11. ผู้จดรายงานการประชุม ให้ลงชื่อผู้จดรายงานการประชุมครั้งนั้น

35. ด่วนมาก หมายถึงอะไร..... (ปี 54)

36. ข้อใดผิด (ปี 52)

ก. ด่วนมากที่สุด

ข. ด่วนที่สุด

ค. ด่วนมาก

ง. ด่วน

37. สำหรับหนังสือที่เป็นภาษาอื่นๆ ซึ่งมิใช่ภาษาอังกฤษ (ปี 52)

ตอบ เป็นไปตามประเพณีนิยม

38. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติในทันทีที่ได้รับ คือ (ปี 51)

ตอบ ด่วนที่สุด

39. หนังสือที่มีผู้รับเป็นจำนวนมากมีใจความอย่างเดียวกัน (ปี 51)

ตอบ หนังสือเวียน

40. การส่งหนังสือติดต่อไปรษณีย์ธรรมดา ควรระบุชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือไว้ที่ส่วนใดของซอง (ปี 53)

ก. ใต้ครุฑตรงกับเท้าครุฑ

ข. ข้างครุฑระดับเดียวกับเท้าครุฑ

ค. ใต้ครุฑตรงกับหางครุฑ

ง. ข้างครุฑเสมอตัวครุฑ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เก็บตก!..ข้อสอบภาษาไทย ปี'54

1. "พระสงฑ์สดับปกรณ์" คำว่า สดับปกรณ์ หมายถึง
ก. บังสุกุล
ข. ให้พร
ค. ฟังพระอภิธรรม
ง. ฟังอย่างตั้งใจ
ตอบ ก. บังสุกุล (ให้จำการเขียนด้วย เพราะเคยออกสอบเรื่องการเขียนถูก-ผิดด้วย)

2. ข้อใดเขียนถูกต้องทุกคำ
ก. สถานการณ์ , เหตุการณ์ , อนุญาติ
ข. อุดมการณ์ , อิสรภาพ , สัณนิษฐาน
ค. ลายเซ็น , ยาเสพติด , มรณกรรม
ง. เกร็ดความรู้ , เกษียณ , ลาดตระเวณ
ตอบ ตอบ ค. ข้ออื่นผิดเพราะ อนุญาต , สันนิษฐาน , ลาดตระเวน

เกร็ดความรู้ :
ลายเซ็น และ เซ็นชื่อ จะไม่มี "ต์"
เปอร์เซ็นต์ มี "ต์"

เกษียณอายุ ใช้ "ณ"
เกษียนหนังสือ ใช้ "น" จุดสังเกดคือ น-หนัง
เกษียรสมุด ใช้ "ร"

3. เขา............ออกจากบ้านเพราะได้ข่าวว่าคนงานถูกไฟ..............
ควรเติมคำใดในช่องว่าง
ก. ลุกลี้ลุกลน , คลอก
ข. ลุกรี้ลุกรน , ครอก
ค. ลุกลี้ลุกลน , ครอก
ง. ลุกรี้ลุกรน , คลอก
ตอบ ก.

ลุกลี้ลุกลน หมายถึง รีบเร่งอย่างไม่เป็นระเบียบ
ลุกลี้ลุกลน จะใช้ "ล" หมด

คลอก ที่สะกดด้วย "ล" หมายถึง อาการไฟล้อมเผาออกไม่ได้
ครอก ที่สะกดด้วย "ร" หมายถึง สัตว์ออกลูกในคราวเดียวกัน/ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย/เจ้า
*** และคำว่า "คลอก" หรือ "ครอก" จะออกข้อสอบทุกปี

4. ข้อใดใช้คำฟุ่มเฟือย
ก. วันนี้จราจรติดขัดมาก เพราะเป็นวันเปิดเทอม วันแรก
ข. ตำรวจเข้าทำการ จับกุมคนร้ายได้หลังจากที่มีการติดตามมานาน
ค. อดีตข้าราชการตำรวจชั้นผู้ใหญ่ร่วมกับบริษัทเอกชนรายใหญ่ กว้านซื้อที่ดินของชาวนา
ง. ชาวนาสวมหมวกใบตาลเดินอยู่ในทุ่งนา
ตอบ ข ดูที่ขีดเส้นใต้ จริงๆข้อ 1 ก็ฟุ่มเฟือย แต่ข้อ 2 จะมีมากกว่า

5. ข้อใดจำเป็นต้องใช้คำทับศัพท์
ก. เขาเป็นสปอนเซอร์ในการแข่งขันกีฬาครั้งนี้ (ผู้สนับสนุน)
ข. เธอมาซื้อของที่นี่ เธอขึ้นลิฟต์แก้วหรือบันไดเลื่อน
ค. เธอได้เปอร์เซ็นต์จากการขายเครื่องสำอาง (ส่วนแบ่งหรือร้อยละ)
ง. เขาให้ทิปพนักงานทุกคนที่บริการ (เงินรางวัล)
ตอบ

6. ข้อใดเรียงลำดับได้ถูกต้อง
ก. การเรียนธรรมล้านนา คือการเขียนภาษาล้านนา
ข. ชาวล้านนาที่มีลูกชาย เมื่อมีอายุ 8-9 ปี ก็จะส่งลูกเข้าวัดเพื่อเป็นขะยม
ค. เมื่อมีเวลาว่างตุ๊หลวงหรือเจ้าอาวาสวัด ก็จะสอนหนังสือให้
ง. หน้าที่ของขะยม คือการรับใช้พระและติดตามพระบิณฑบาต
ตอบ ก-ข-ง-ค

หลักการทำข้อสอบประเภท การสรุปความ ประโยคความสั้น ยาว หาใจความสำคัญ การเรียงประโยค คือ
1. ขีดเส้นใต้คำสำคัญ 2-3 คำ
2. หาคำนาม (N) ส่วนใหญ่คำนามสำคัญมักจะปรากฎในตัวเลือกด้วย
3. หา Keyword (กุญแจคำ) ได้แก่คำว่า ดังนั้น , ทำให้ , เพราะฉะนั้น , แต่ , ส่วน , เพื่อ , ต้อง เพราะหลัง Keyword มักเป็นคำตอบของคำนาม (N)
4. ถ้าไม่มี Keyword(กุญแจคำ) ให้ดูตอนท้ายของประโยค
5. การเรียงประโยค คำว่า "และ" โดยมากมักอยู่ท้ายประโยค
6. การเรียงประโยค คำที่อยู่ท้ายประโยคแรกมักสัมพันธ์หรือเป็นคำเดียวกันกับคำแรกของประโยคถัดมา

7. "ดอกรักจะบานในใจ ดอกโศกจะอยู่ในใจเราตลอดไป" ข้อความดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงสิ่งใด
ก. ดอกไม้
ข. ความเศร้า
ค. ความเสียใจ
ง. ความทุกข์ทรมานใจ
ตอบ ก.

ข้อสอบประเภทนี้ให้เราตีความหมายของคำตามความรู้สึกของผู้เขียน จะไม่ได้หมายความถึงสิ่งๆนั้นโดยตรง
ดอกรัก หมายถึง ความรัก
ดอกโศก หมายถึง ความเศร้าใจ เสียใจ ทุกข์ทรมานใจ

8. ข้อไหนย้ายที่คำแล้วยังมีความหมายเหมือนเดิม (ข้อสอบนายร้อย ปี54 ข้อสอบชนิดนี้ถูกพัฒนาเป็นประโยค ซึ่งจะยากขึ้น)
ก. เกลียวกลม - กลมเกลีว (ทั้งสองคำจะหมายถึง ความสามัคคี)
ข. ใจแข็ง - แข็งใจ (ใจแข็ง หมายถึง ไม่ยอมง่ายๆ และ แข็งใจ จะหมายถึง ทำใจให้เข้มแข็ง)
ค. กินอยู่ - อยู่กิน (กินอยู่ คือ การดำรงชีวิตอยู่ด้วยกัน กินข้าวด้วยกัน แต่อยู่กิน ความหมายจะแรงกว่า คือ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา)
ง. หนาแน่น - แน่นหนา (หนาแน่น หมายถึง แออัด ยัดเยียด ส่วนแน่นหนา หมายถึง มั่งคง)
ตอบ ก.

9. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรด้วยโรคพระอันตะอักเสบ คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงอะไร
ก. ไส้ติ่ง
ข. กระเพราะอาหาร
ค. ลำไส้ใหญ่
ง. ลำไส้เล็ก
ตอบ ค. (ที่ผ่านมาข้อสอบจะออกเหตุการณ์ที่เกิดใหม่ๆ เช่น ปีที่แล้วเกี่ยวกับ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ท่านเสียวันพฤหัสบดี สอบวันอาทิตย์ โจทย์ถามว่าใช้คำราชาศัพท์ว่าอะไร ก.สิ้นพระชนม์ ข.สวรรคต ค...ดังนั้นต้องตามข่าวบ้างอะไรบ้าง ปล.อาจารย์เค้าบอกมา)

10. ข้อใดเป็นเหตุผล (การกระทำใดการกระทำหนึ่ง ส่งผลถึงอีกการกระทำหนึ่ง มีความเป็นเหตุเป็นผล ส่วนใหญ่จะมีคำว่า เพราะ...)
ก. ตำรวจระดมกำลังวันเด็ก
ข. ตำรวจถูกตีหัวที่ร้านหมูกระทะ
ค. ห้ามส่งเสียงดัง
ง. ตำรวจปฏิเสธนายแบงก์ถูกยิงเพราะถูกตัดตอน
ตอบ ง.

11. ข้อใดต่อไปนี้ใช้คำฟุ่มเฟือย
ก. จีนเล่นฟุตบอลชนะคนจีนชาติเดียวกัน
ข. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดสัมมนาวิชาการเรื่องโรคร้อน
ค. แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง
ง. การเลือกตั้งครั้งล่าสุดแสดงถึงประชามติของประชาชนไทย
ตอบ ก.

12. คำเชื่อมประโยคในข้อใดถูกต้อง (ออกบ่อยมาก)
ก. นายวีระมอบหลักฐานการทุจริตแด่ ป.ป.ช.
ข. พ่อถวายปัจจัยแก่พระภิกษุ
ค. ครูมอบของขวัญปัจจัยแด่นักเรียน
ง. อธิการบดีมอบปริญญาบัตรแก่นักศึกษา
ตอบ ง.

หมายเหตุ
แก่ : ใช้กับคนอายุเท่ากันหรือน้อยกว่า
- ให้แก่
- สมควรแก่
- เหมาะสมแก่
- ใช้แก่ /หรือ ใช้กับ
แด่ : ใช้กับคนอายุมากกว่า
จาก
- คลาดเคลื่อนจาก
- เปลี่ยนแปลงจาก
- ไม่ไกลจาก
- แตกต่างจาก
ต่อ
- จำเป็นต่อ
- อุปสรรคต่อ
- แสดงต่อ
- ยื่นต่อ
- รายงานต่อ
- เสนอต่อ
- ยึดมั่นต่อ
กับ
- พูดกับ
- ระหว่างกับ
- สอดคล้องกับ
- เกี่ยวข้องกับ
- เผชิญกับ
- ขัดแย้งกับ
- ตกกับ
- ต่อสู้กับ
- ขึ้นอยู่กับ
- ใช้แก่ /หรือ ใช้กับ

13. บ้านเลขที่ 11/23 อ่านว่าอย่างไร
ก. สิบเอ็ดทับสองสาม
ข. สิบเอ็ดทับยี่สิบสาม
ค. หนึ่งหนึ่งทับสองสาม
ง. หนึ่งหนึ่งทับยี่สิบสาม
ตอบ ก.

หมายเหตุ
ถ้าเป็นหลักร้อย เช่น 111/23 อ่านได้ 2 แบบ คือ หนึ่งร้อยสิบเอ็ดทับสองสาม หรือ หนึ่ง หนึ่ง หนึ่งทับสองสามก็ได้

14. ข้อใดใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง
ก. ประชาชนถวายการต้อนรับพระบาทสมเด็กพระเจ้าอยู่หัว (เฝ้าฯ รับเสด็จ)
ข. หนังสือเล่มนี้เป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาส
ราชนครินทร์ (คำว่า "ราช..." ใช้กับเชื้อพระวงศ์ลำดับ 1-4 เท่านั้น ยกเว้น! คำว่า "พระราชทาน")
ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอาคันตุกะของประธานาธิบดีประเทศอเมริกา
ง. นาฎศิลป์ไทยจัดการแสดงเฉพาะพระพักตร์ ให้ราชวงศ์ต่างประเทศ (ถวายแด่)
ตอบ ค.
หมายเหตุ แล้วจะเอาการจัดลำดับของเชื้อพระวงศ์มาให้ดูอีกทีนะคะ (ถ้าไม่ลืม....!!! ('@') ช่วยเตือนหน่อยก็ดีนะคะ)

15. -ข้อใดอ่านไม่ถูกต้อง
ก. ประกาศนียบัตร อ่านว่า ประ-กาด-สะ-นี-ยะ-บัด (อ่านได้ 2 แบบ ทั้ง ประ-กาด-สะ-นี-ยะ-บัด และ ประ-กา-สะ-นี-ยะ-บัด)
ข. วันทยาวุธ อ่านว่า วัน-ทะ-ยา-วุด
ค. ฉัตรมงคล อ่านว่า ฉัด-มง-คน (อ่านได้ 2 แบบ ทั้ง ฉัด-มง-คน และ ฉัด-ตะ-มง-คน)
ง. เฉลิมพระชนมพรรษา อ่านว่า ฉะ-เหลิม-พระ-ชน-มะ-พัน-สา
ตอบ ค.

16. "ร้านสะดวกซื้อจะเปิดจำหน่ายสินค้าทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตลอด 24 ชั่วโมง" ประโยคนี้บกพร่องอย่างไร
ก. ความไม่กระชับ (หรือเรียกอีกอย่างว่า ความฟุ่มเฟือย)
ข. ใช้ภาษาไม่เหมาะสม
ค. การลำดับความสับสน
ง. การวางตำแหน่งส่วนขยายผิด
ตอบ ก.

17. "การศึกษาในภาพรวมทั้งระบบยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร" ข้อความใดไม่เกี่ยวข้องกับข้อความข้างต้น
ก. จำนวนครูไม่เพียงพอ
ข. อุปกรณ์ทางการศึกษาล้าสมัย
ค. ผู้เรียนขาดโภชนาการที่ดี
ง. สถานศึกษาอยู่ในเขตชนบท
ตอบ ค.

18. ชาวบ้าน.........เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมไปยังองค์กรส่วนท้องถิ่น ก็กลับถูก.....ไม่ได้รับการเหลียวแล ควรเติมคำใดในช่องว่าง
ก. ร้องเรียน, วางเฉย
ข. ร้องเรียน, เพิกเฉย (ไม่เอาใจใส่/ละเลย)
ค. ร้องขอ, วางเฉย
ง. ร้องขอ, เพิกเฉย
ตอบ ข.

19. คำในข้อใดถูกต้องทุกคำ
ก. เสื้อเชิ๊ตลายกีต้าร์ของพลอยสวยมาก (เชิ้ต)
ข. พอลล่าชอบกินคุกกี้กับโค้กกระป๋อง
ค. พลอยเขียนโน๊ตเพลงเหล่านี้ไว้เตียมออกคอนเสิร์ต (โน้ต)
ง. พิมชอบทานขนมเค๊กกับช็อคโกแลต (เค้ก / ช็อกโกแลต)
ตอบ ข.

20. คำในข้อใดถูกต้องทุกคำ
ก. แว่นตา - อัน     แห - วง (ปาก)
ข. แคน - เต้า     จอบ - เล่ม สังเกตว่าของมีคมส่วนใหญ่จะใช้ "เล่ม"
ค. ระกำ - กระปุก     ขลุ่ย - ลำ (เลา)
ง. ฝอยทอง - แพ     ถนน - เส้น (สาย)
ตอบ ข.

21. ข้อใดใช้ภาษาทางการ
ก. โครงการแกล้งดิน เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ข. หน่วยราชการทุกแห่งจัดงาน 5 ธันวามหาราช โดยพร้อมเพรียงกัน
ค. น้ำท่วมที่ภาคใต้ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
ง. การเสนอข่าวอย่างทันท่วงที เป็นหน้าที่ของนักข่าว
ตอบ ก.

22. "ปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาใหญ่ ความเจ็บป่วยเป็นความเจ็บปวดของตนเองและคนรอบข้าง จึงขอให้หันมาเอาใจใส่ "5 อ." ดังต่อไปนี้กันบ้าง คือ อากาศ อารมณ์ อาหาร ออกกำลังกาย และอุจจาระ"
ข้อความนี้แสดงการเขียนลักษณะใด
ก. การให้ความรู้
ข. การแสดงเหตุผล
ค. การแสดงอารมณ์
ง. การแสดงความคิดเห็น
ตอบ ง.

23. "ปลาร้าพันห่อด้วย     ใบคา
      ใบก็เหม็นคาวปลา      คละคลุ้ง"
คำประพันธ์ข้างต้นตรงกับแนวคิดในข้อใด
ก. หนึ่งคือบ่คบพาล  เพราะจะพาประพฤติผิด
ข. หนึ่งคบกะบัณฑิต  เพราะจะพาประสบผล
ค. ความงดประพฤติบาป  อกุศลบ่ให้มี
ง. กอบกรรมะอันไร้  ทุษะกลั้วและมัวมล
ตอบ ก.
หมายเหตุ โครงนี้เป็นโครงสี่สุภาพ บังคับ เอก 7 โท 4 : รู้เอาไว้ไม่เสียหลาย...

24. ข้อใดเป็นภาษาสื่อสารมวลชน (ข้อสอบปี 54 สดๆ ร้อนๆ)
ก. บุคคลหลายฝ่ายให้ความร่วมมือกับโครงการสมานฉันท์
ข. ปีนี้ทบวงมหาวิทยาลัยประกาศผลสอบเร็วกว่ากำหนด
ค. เบื้อหลัง 10 เมษายน ถล่ม "บูรพาพยัคฆ์"
ง. นายกรัฐมนตรีประกาศไม่ยุบสภาพ
ตอบ ค. เป็นพาดหัวของมติชนก่อนวันสอบ

25. ในเทศกาลต่างๆ คุณยายไปทำบุญที่วัดบางครั้งก็บังสกุล อุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับและกรวดน้ำทุกครั้ง
คำใดที่เขียนผิด
ก. เทศกาล
ข. บังสกุล (บังสุกุล)
ค. ส่วนกุศล
ง. กรวดน้ำ
ตอบ ข.

26. เมื่อคนเมืองคับคั่งด้วยคนป่า     เมื่อคนดีด้อยค่าเหมือนกรวดหิน
      เมื่อสัตว์ป่าสร้างป่าไว้หากิน       สัตว์เมืองก็ต้องสิ้นวิสัยเมือง
คำประพันธ์ข้างต้นเป็นโวหารประเภทใด
ก. เทศนาโวหาร (สั่งสอน)
ข. บรรยายโวหาร (เล่าเรื่องตามเหตุการณ์)
ค. อุปมาโวหาร (เปรียบเทียบ)
ง. พรรณาโวหาร (ใช้คำสลวย แต่มองเห็นภาพชัดเจน)
ตอบ ค.

ลองทำข้อสอบที่เหลือดูนะคะ
27. ขอให้มีความรักที่มั่นคง          ซื่อตรงดุจนภากับแขไข
      รู้จักอ่อน ผ่อนปรน ให้อภัย      รักสดใน สุขสันต์ นิรันดร
ใจความสำคัญของข้อความข้างต้นกล่าวถึงเรื่องใด
ก. ความรัก
ข. ความซื่อสัตย์
ค. ความเมตตา
ง. ความอ่อนโยน
ตอบ ก.


28. ข้อใดสะกดคำไม่ถูกต้อง
ก. ฉันตอบคำถามของครูอย่างทะนงว่าฉันเขียนคำว่าจะละเม็ด และจักจั่นได้ถูกต้อง
ข. คณะกรรมการแถลงการณ์เกี่ยวกับโครงการปลูกต้นจันทน์กะพ้อในสวนวรรณคดี
ค. วัยรุ่นมักจะคึกคนอง ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของตนและความห่วงใยของพ่อแม่
ง. ฝ่ายแนะแนวเขียนกราฟ แสดงจำนวนผู้สอบโควตาเข้ามหาวิทยาลัยในคณะต่างๆ ประจำปีนี้
ตอบ ค.

29. ข้อใดใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง (ข้อสอบนายร้อย ปี 54 สดๆ ร้อนๆ)
ก. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นชีพิตักษัย
ข. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปฏิสันถารกับผู้มาเฝ้าทูลละอองทุลีพระบาท ณ บริเวณโถงอาคาร
ค. บ่ายวันนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระดำเนินไปทรงเททองหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์
ง. คาถาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระนิพนธ์พระราชทานพระเจ้าลูกเธอนั้นประทานพรบางอย่างเหมือนกันทุกพระองค์
ตอบ ข.

30. ข้อใดใช้คำไม่ถูกต้อง
ก. ถามเท่าไรก็ไม่ยอมตอบ ไม่ทราบว่ามัวอิดออดอยู่เพราะอะไร
ข. ด้วยความที่ไม่เคยปฏิเสธใคร ภาระทั้งหมดจึงมาตกหนักอยู่ที่เขาคนเดียว
ค. ครูต้องการปลูกฝังให้นักเรียนเป็นคนรักความรู้และรู้จักหาความรู้
ง. เศรษฐีผู้นี้มีความเอื้ออาทรต่อบ่าวไพร่ รู้ว่าใครได้รับทุกข์ร้อนก็หาทางช่วยเหลือ
ตอบ ก.

31. ความเอ๋ยความดี                        มักไม่มีใครรู้สึกระลึกถึง
แม้ทำไว้เท่าไรคนไม่พึง                  ปรารถนาจะคำนึงให้ป่วยการ
ต่อถึงคราวคับแค้นแสนยากเข็ญ     จึงจะกลับมาเห็นเป็นแก่นสาร
เหมือนราตรีมีกลิ่นประทินนาน         จะรู้รสหอมหวานต่อค่ำเอย
บทประพันธ์นี้ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายอย่างไร
ก. นิยามความดี
ข. ชี้ลักษณะธรรมดาโลก
ค. แสดงคุณค่าของความดี
ง. เตือนให้รักษาคุณธรรม
ตอบ ค.

32. "เมื่ออเมริกาจาม ทั้งโลกก็ติดหวัดไปด้วย" เป็นคำพูดที่ดูจะศักดิ์สิทธิ์อยู่เสมอ ในขณะที่การจามครั้งนี้รุนแรงอยู่พอสมควร เห็นได้จากการกระชากอัตราดอกเบี้ยลงมาติดๆ กัน เพื่อจะเอาให้อยู่
(มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 4 ก.พ. 2553) ข้อใดเป็นข้อสรุปข้อความข้างต้นได้ครอบคลุมและชัดเจนที่สุด
ก. อเมริกาเป็นตลาดหลักส่งออกสินค้าของประเทศส่วนใหญ่ในโลก
ข. อเมริกากำลังประสบภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบต่อหลายประเทศ
ค. อเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจ ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ในโลกต้องให้ความเกรงใจ
ง. อเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงมาสองครั้ง เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายใน
ตอบ ข.

33. ข้อใดไม่มีคำภาษาพูด
ก. คณะกรรมการชุดนี้แตกคอกันเป็นเหตุให้งานสะดุด
ข. เขาปล่อยก๊ากออกมาในห้องประชุมที่เงียบสงบ
ค. หญิงสาวมีเสื้อผ้าเยอะแยะจนเลือกไม่ถูกเลย
ง. วิบูลย์เก็บเอกสารไว้ในตู้นิรภัย
ตอบ ง.

34. ผมตกใจมากจึง.......ตอบไปว่า ไม่มีใครอยู่ ควรใช้คำใดเติมลงในช่องว่าง
ก. ลอกแลก
ข. ลุกลี้ลุกลน
ค. ละล่ำละลัก
ง. ละล้าละลัง
ตอบ ค.

35 หากเปลี่ยนการติวกับการเป็นเขา การติว คือ กระเช้าไฟฟ้าความหมายของข้อความดังกล่าวตรงกับข้อใดมากที่สุด
ก. การติวต้องมีค่าใช้จ่าย
ข. การติวช่วยให้ทำข้อสอบได้
ค. การติวช่วยให้จำได้แม่นยำขึ้น
ง. การติวช่วยประหยัดเวลา
ตอบ ง.


 

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เว็บไซต์กองการสอบ

กองการสอบ

policeadmission

ประกาศสอบสัญญาบัตร ปี'54

ประกาศสอบสัญญาบัตร ปี' 54

สาระสำคัญ พ.ร.ฎ. / พ.ร.บ. / ระเบียบสารบรรณ

สรุป พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

สรุป พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สาระสำคัญ พรบ.ตำรวจ 2547

พรบ.ตำรวจ 2547

1.            พรบ.มีทั้งหมด 128 มาตรา  แบ่งเป็น 7 ลักษณะ 10 หมวด  ได้แก่
1.1    ลักษณะ 1  หมวดทั่วไป
1.2    ลักษณะ 2 การจัดระเบียบราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1.3    ลักษณะ 3  ก.ต.ช.
1.4    ลักษณะ 5 ยศตำรวจและชั้นข้าราชการตำรวจ
1.5    ลักษณะ 5  ก.ตร.
1.6    ลักษณะ 6  ระเบียบข้าราชการตำรวจ
1.6.1                หมวด 1 ตำแหน่งและการกำหนดตำแหน่ง
1.6.2                หมวด 2  การบรรจุ การแต่งตั้งและการเลื่อนขั้นเงินเดือน
1.6.3                หมวด 3  เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มอื่น
1.6.4                หมวด 4  การรักษาราชการแทนและปฏิบัติราชการแทน
1.6.5                หมวด 5 วินัยและการรักษาวินัย
1.6.6                หมวด 6  การดำเนินการทางวินัย
1.6.7                หมวด 7  การออกจากราชการ
1.6.8                หมวด 8  การอุทธรณ์
1.6.9                หมวด 9  การร้องทุกข์
1.6.10        หมวด 10  เครื่องแบบตำรวจ
1.7    ลักษณะ 7  กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
2.            ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  คือ พันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร
3.            ให้ไว้ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2547
4.            พรบ.ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา  คือ วันที่ 15 ก.พ.2547  (ประกาศวันที่ 14 ก.พ.2547)
5.            ให้ยกเลิก พรบ.เก่า 17 ฉบับ (เป็นเรื่องเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการตำรวจ/วินัยตำรวจ/ยศตำรวจ/เครื่องแบบตำรวจ)
6.            ข้าราชการตำรวจ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หมายความรวมถึงข้าราชการตำรวจที่ได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการอื่นด้วย
7.            ประธานกรรมการ หมายถึง ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
8.            กรรมการ หมายถึง กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
9.            กองทุน หมายถึง กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
10.    ให้นายกรัฐมนตรี รักษาการตามระเบียบนี้และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พรบ.นี้
11.    สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นตรงต่อของนายกรัฐมนตรี  และมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นหัวหน้าส่วนราชการ
12.    การโอนอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทางอาญาให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นแทนตำรวจ  สามารถทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
13.    ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่   ก.ต.ช.  กำหนด
14.    ข้าราชการอาจให้แบ่งเป็นทั้งประเภทมียศและไม่มียศ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
15.    วัน เวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดของตำรวจ ให้เป็นไปตามคณะรัฐมนตรีกำหนด แต่ในกรณีจำเป็น ก.ต.ช.จะกำหนดให้แตกต่างก็ได้ 
16.    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แบ่งส่วนราชการ 2 ส่วน ได้แก่ 1. สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ     2. กองบัญชาการ
17.    การแบ่งส่วนราชการของสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกองบัญชาการ หรือจัดตั้งกองบัญชาการใหม่ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา  ส่วนการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการให้ออกเป็นกฎกระทรวง
18.    ผู้บัญชาการมีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ทุก 4 เดือน หรือตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด
19.    คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ เรียกย่อว่า ก.ต.ช. มีหน้าที่ กำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ  มีทั้งหมด 11 คน  ประกอบด้วย
19.1                    มีนายกเป็นประธาน/รมว.กระทรวงมหาดไทย/รมว.กระทรวงยุติธรรม/ปลัดกระทรวงมหาดไทย/ปลัดกระทรวงยุติธรรม /เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ/ผบ.ตร. เป็นกรรมการโดยตำแหน่งทั้งหมด (รวม 7 คน)
19.2                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน โปรดเกล้าจากคนที่ได้รับการสรรหาจากกรรมการโดยตำแหน่ง ต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมาย/การงบประมาณ/การพัฒนาองค์กร/การวางแผนหรือการบริหารและจัดการ
20.    แต่งตั้งยศพลตำรวจโทขึ้นไปเป็นเลขาฯ ก.ต.ช. และพลตำรวจตรีไม่เกิน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขาฯ ก.ต.ช.
21.    ก.ต.ช.มีอำนาจหน้าที่ออกประกาศ ระเบียบ มติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจ และพิจารณาคัดเลือกตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งเป็น ผบ.ตร.ตามที่นายกเสนอ
22.    องค์ประกอบ วิธีการสรรหา หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ เป็นไปตามที่ ก.ต.ช.กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
23.    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ต.ช.และ ก.ตร. ต้องมีคุณสมบัติได้แก่ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด/อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี/ไม่เล่นการเมือง/ล้มละลาย
24.    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ต.ช.มีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 4 ปี เกิน 2 วาระไม่ได้
25.    กรรมการคุณวุฒิ ก.ต.ช./ก.ตร. พ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุ 70 ปี /มติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
26.    ถ้าวาระการดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ต.ช.เหลือไม่ถึง 90 วัน ไม่ดำเนินการสรรหา
27.    ประธานกรรมการ/กรรมการโดยตำแหน่ง จะมอบให้คนอื่นมาประชุมแทนไม่ได้
28.    ยศตำรวจมี 14 ยศ
29.    การแต่งตั้งชั้นสัญญาบัตรให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.ตร. และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
30.    ผู้มีอำนาจแต่งตั้งว่าที่ชั้นสัญญาบัตร 
30.1  ว่าที่พลตรีขึ้นไป (นายก)
30.2  ว่าที่ร้อยตรี-พันเอก (ผบ.ตร.)
31. การแต่งตั้งชั้นประทวน (ผบ.ตร.หรือ ผบช.ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ผบ.ตร.)
32. การถอดหรือออกจากสัญญาบัตรให้เป็นไปตามระเบียบ ตร.และทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการ (หรือการออกจากชั้นใดให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่ง)
33.  ก.ตร.ประกอบด้วย
33.1  นายกเป็นประธาน/เลขาธิการ ก.พ./ผบ.ตร./จเรตำรวจแห่งชาติ/รอง ผบ.ตร.  ทั้งหมดเป็นกรรมการ ก.ตร.โดยตำแหน่ง
            33.2  ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งโปรดเกล้าจากผู้ได้รับคัดเลือก จำนวน 11 คน  ดังนี้
                        - ผู้เคยเป็นตำรวจระดับผู้บัญชาการขึ้นไป 5 คน พ้นจากการเป็นตำรวจเกิน 1 ปี
                        - ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์/รัฐศาสตร์/เศรษฐศาสตร์/รัฐประศาสนศาสตร์/อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม/สาขาอื่นที่ ก.ตร.กำหนด จำนวน 6 คน (หรือเลือกจากคนที่เคยเป็นตำรวจเกิน 10 ปีและอายุไม่เกิน 65 ปี อาจได้รับเลือก 1 คน)
หมายเหตุ***จำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ตร.เพิ่ม  ขึ้นอยู่กับจำนวนรอง ผบ.ตร.ที่เพิ่มขึ้นด้วย***
34.        ผู้บัญชาการ สนง.ก.ตร.เป็นเลขา ก.ตร.  รและรอง สนง.ก.ตร.เป็นผู้ช่วยเลขาฯ
35.        ก.ตร.มีหน้าที่ กำหนดนโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคล เช่น การอบรมตำรวจ/ออกระเบียบเกี่ยวกับการสอบ/การบรรจุ/การแต่งตั้ง โยกย้าย/การลงโทษ/กำหนดชั้นยศ เงินเดือน/อนุมัติ ควบคุม กพ.7
36.        ก.ตร.มีอำนาจออกกฎ ก.ตร.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
37.        กรรมการ ก.ต.ช. จะเป็นกรรมการ ก.ตร. ขณะเดียวกันไม่ได้  ยกเว้น นายกและ ผบ.ตร.
38.        กรรมการคุณวุฒิ ก.ตร.มาจาก
38.1    กรรมการระดับ ผบช.ขึ้นไป  ให้ตำรวจระดับผู้กำกับ พนง.สอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ  เป็นผู้เลือก
38.2    กรรมการสาขาต่างๆ ให้กรรมการโดยตำแหน่งและคนที่ได้รับเลือกจาก 38.1 เป็นผู้เลือก
39.        ให้ประธาน ก.ตร.รับสมัครแล้วจัดส่งรายชื่อผู้สมัครกรรมการ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วจัดส่งรายชื่อไปให้ผู้มีสิทธิ์เลือกก่อนวันเลือกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน
40.        กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ตร.มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี วาระเดียว
41.        ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน ก่อนครบวาระ
42.        ถ้ามีผู้ร้องไม่น้อยกว่า 6 คนขอให้ประชุม ให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ เรียกประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง
43.        ตำแหน่งข้าราชการตำรวจ มี 13 ตำแหน่ง  เฉพาะจุดสำคัญดังนี้
-ผู้บังคับการ                เทียบ  พนง.สอบสวน ผชช.พิเศษ
-รองผู้บังคับการ          เทียบ  พนง.สอบสวน ผชช.
-ผู้กำกับการ                 เทียบ  พนง.สอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ
-รองผู้กำกับการ           เทียบ  พนง.สอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ
-สารวัตร                      เทียบ  พนง.สอบสวนผู้ชำนาญการ
-รองสารวัตร               เทียบ  พนง.สอบสวน
44.  ในส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะให้มีตำแหน่งใด  เท่าใด  คุณสมบัติอย่างไร  มียศหรือไม่  ให้เป็นไปตามที่ ก.ตร. กำหนด
45.  การกำหนดตำแหน่งตั้งแต่ ผู้บังคับการ/พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก    ก.ต.ช.ก่อน
46.  การแต่งตั้งพนักงานสอบสวนมีจำนวนเท่าใดเป็นไปตามระเบียบ ก.ตร.
47.  การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
            - ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โปรดเกล้าฯ จาก  ยศพลตำรวจเอก
            - ตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ  และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โปรดเกล้าฯ จาก ยศตำรวจโทหรือพลตำรวจเอก
            - ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โปรดเกล้าฯ  จาก ยศพลตำรวจโท
            - ผู้บัญชาการ  โปรดเกล้าฯ  จาก  ยศพลตำรวจตรีหรือพลตำรวจโท
            - รองผู้บัญชาการ  โปรดเกล้าฯ  จาก  ยศตำรวจตรี
            - ผู้บังคับการ/พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  โปรดเกล้าฯ  ยศพันตำรวจเอก (ต้องได้รับเงินเดือนพิเศษ)
            - รองผู้บังคับการ  และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาย  แต่งตั้งจาก ยศพันตำรวจเอกสาร หรือ ยศพันตำรวจเอกได้รับเงินเดือนพิเศษ
            - ผู้กำกับการ  แต่งตั้งจาก  ยศพันตำรวจโทหรือพันตำรวจเอก
            - รองผู้กำกับการ/พนง.สอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ  แต่งตั้งจากพันโท
            - ตำแหน่งสารวัตร และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ  แต่งตั้งจากร้อยตำรวจเอกแต่ไม่สูงกว่าพันตำรวจโท
            -รองสารวัตร/พนง.สอบสวน  แต่งตั้งจากร้อยตรี-ร้อยเอก
            - ผู้บังคับหมู่  แต่งตั้งจาก  สิบตำรวจตรี ดาบตำรวจ
            - รองผู้บังคับหมู่  แต่งตั้งจากชั้นพลตำรวจ
48.  การแต่งตั้ง ผบ.ตร. ให้นายกรัฐมนตรี คัดเลือกแล้วเสนอ ก.ต.ช. เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนำทูลเกล้าฯ
49.  การแต่งตั้งจเร + ผู้ช่วย ผบ.ตร. + ผู้บัญชาการ  ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คัดเลือกแล้วเสนอ ก.ตร. ให้ความเห็นชอบก่อนนำกราบทูล
50.  การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ และ ผู้บังคับการ ใน สง.ตร.
            ผบ.ตร. เลือก-----เสนอ ก.ตร.เห็นชอบ-----นายกนำกราบทูลเพื่อแต่งตั้ง
51.  การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ และ ผู้บังคับการ ในกองบัญชาการ มิได้สังกัด สง.ตร.
            ผบช.คัดเลือก---เสนอ ผบ.ตร.----เสนอ ก.ตร.เห็นชอบ---นายกนำกราบทูลเพื่อแต่งตั้ง
52.  การแต่งตั้ง รอง ผบก.- รอง ผบ.หมู่ ใน สง.ตร.หรือกองบัญชาการมิได้สังกัด
            ผบ.ตร.(ผบช.) แต่งตั้งโดยมีผู้บังคับการเสนอแนะด้วย
53.  การแต่งตั้ง ผกก.- รอง ผบ.หมู่ ไม่สูงกว่าเดิมในกองบัญชาการสังกัด สง.ตร. ให้ ผบช.แต่งตั้ง โดย ผบก.แนะนำ
54.  การแต่งตั้งจากส่วนราชการหนึ่งไปส่วนราชการหนึ่ง
            54.1 การแต่งตั้ง รอง ผบช. และ ผบก. ระหว่าง สง.ตร.กับกองบัญชาการไม่สังกัด  (ผบ.ตร.เสนอเห็นชอบ นายกนำกราบทูล)
            54.2  การแต่งตั้ง รอง ผบก.-รอง ผบ.หมู่ ระหว่าง สง.ตร.กับกองบัญชาการไม่ได้สังกัด (ผบ.ตร.หรือ ผบช.แต่งตั้ง)
            54.3  การแต่งตั้ง รอง ผบก.-รอง ผบ.หมู่ ระหว่างกองบัญชาการมิได้สังกัด (ผบช.แต่งตั้ง)