วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เว็บไซต์กองการสอบ

กองการสอบ

policeadmission

ประกาศสอบสัญญาบัตร ปี'54

ประกาศสอบสัญญาบัตร ปี' 54

สาระสำคัญ พ.ร.ฎ. / พ.ร.บ. / ระเบียบสารบรรณ

สรุป พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

สรุป พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สาระสำคัญ พรบ.ตำรวจ 2547

พรบ.ตำรวจ 2547

1.            พรบ.มีทั้งหมด 128 มาตรา  แบ่งเป็น 7 ลักษณะ 10 หมวด  ได้แก่
1.1    ลักษณะ 1  หมวดทั่วไป
1.2    ลักษณะ 2 การจัดระเบียบราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1.3    ลักษณะ 3  ก.ต.ช.
1.4    ลักษณะ 5 ยศตำรวจและชั้นข้าราชการตำรวจ
1.5    ลักษณะ 5  ก.ตร.
1.6    ลักษณะ 6  ระเบียบข้าราชการตำรวจ
1.6.1                หมวด 1 ตำแหน่งและการกำหนดตำแหน่ง
1.6.2                หมวด 2  การบรรจุ การแต่งตั้งและการเลื่อนขั้นเงินเดือน
1.6.3                หมวด 3  เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มอื่น
1.6.4                หมวด 4  การรักษาราชการแทนและปฏิบัติราชการแทน
1.6.5                หมวด 5 วินัยและการรักษาวินัย
1.6.6                หมวด 6  การดำเนินการทางวินัย
1.6.7                หมวด 7  การออกจากราชการ
1.6.8                หมวด 8  การอุทธรณ์
1.6.9                หมวด 9  การร้องทุกข์
1.6.10        หมวด 10  เครื่องแบบตำรวจ
1.7    ลักษณะ 7  กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
2.            ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  คือ พันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร
3.            ให้ไว้ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2547
4.            พรบ.ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา  คือ วันที่ 15 ก.พ.2547  (ประกาศวันที่ 14 ก.พ.2547)
5.            ให้ยกเลิก พรบ.เก่า 17 ฉบับ (เป็นเรื่องเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการตำรวจ/วินัยตำรวจ/ยศตำรวจ/เครื่องแบบตำรวจ)
6.            ข้าราชการตำรวจ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หมายความรวมถึงข้าราชการตำรวจที่ได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการอื่นด้วย
7.            ประธานกรรมการ หมายถึง ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
8.            กรรมการ หมายถึง กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
9.            กองทุน หมายถึง กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
10.    ให้นายกรัฐมนตรี รักษาการตามระเบียบนี้และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พรบ.นี้
11.    สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นตรงต่อของนายกรัฐมนตรี  และมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นหัวหน้าส่วนราชการ
12.    การโอนอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทางอาญาให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นแทนตำรวจ  สามารถทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
13.    ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่   ก.ต.ช.  กำหนด
14.    ข้าราชการอาจให้แบ่งเป็นทั้งประเภทมียศและไม่มียศ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
15.    วัน เวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดของตำรวจ ให้เป็นไปตามคณะรัฐมนตรีกำหนด แต่ในกรณีจำเป็น ก.ต.ช.จะกำหนดให้แตกต่างก็ได้ 
16.    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แบ่งส่วนราชการ 2 ส่วน ได้แก่ 1. สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ     2. กองบัญชาการ
17.    การแบ่งส่วนราชการของสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกองบัญชาการ หรือจัดตั้งกองบัญชาการใหม่ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา  ส่วนการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการให้ออกเป็นกฎกระทรวง
18.    ผู้บัญชาการมีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ทุก 4 เดือน หรือตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด
19.    คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ เรียกย่อว่า ก.ต.ช. มีหน้าที่ กำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ  มีทั้งหมด 11 คน  ประกอบด้วย
19.1                    มีนายกเป็นประธาน/รมว.กระทรวงมหาดไทย/รมว.กระทรวงยุติธรรม/ปลัดกระทรวงมหาดไทย/ปลัดกระทรวงยุติธรรม /เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ/ผบ.ตร. เป็นกรรมการโดยตำแหน่งทั้งหมด (รวม 7 คน)
19.2                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน โปรดเกล้าจากคนที่ได้รับการสรรหาจากกรรมการโดยตำแหน่ง ต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมาย/การงบประมาณ/การพัฒนาองค์กร/การวางแผนหรือการบริหารและจัดการ
20.    แต่งตั้งยศพลตำรวจโทขึ้นไปเป็นเลขาฯ ก.ต.ช. และพลตำรวจตรีไม่เกิน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขาฯ ก.ต.ช.
21.    ก.ต.ช.มีอำนาจหน้าที่ออกประกาศ ระเบียบ มติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจ และพิจารณาคัดเลือกตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งเป็น ผบ.ตร.ตามที่นายกเสนอ
22.    องค์ประกอบ วิธีการสรรหา หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ เป็นไปตามที่ ก.ต.ช.กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
23.    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ต.ช.และ ก.ตร. ต้องมีคุณสมบัติได้แก่ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด/อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี/ไม่เล่นการเมือง/ล้มละลาย
24.    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ต.ช.มีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 4 ปี เกิน 2 วาระไม่ได้
25.    กรรมการคุณวุฒิ ก.ต.ช./ก.ตร. พ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุ 70 ปี /มติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
26.    ถ้าวาระการดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ต.ช.เหลือไม่ถึง 90 วัน ไม่ดำเนินการสรรหา
27.    ประธานกรรมการ/กรรมการโดยตำแหน่ง จะมอบให้คนอื่นมาประชุมแทนไม่ได้
28.    ยศตำรวจมี 14 ยศ
29.    การแต่งตั้งชั้นสัญญาบัตรให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.ตร. และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
30.    ผู้มีอำนาจแต่งตั้งว่าที่ชั้นสัญญาบัตร 
30.1  ว่าที่พลตรีขึ้นไป (นายก)
30.2  ว่าที่ร้อยตรี-พันเอก (ผบ.ตร.)
31. การแต่งตั้งชั้นประทวน (ผบ.ตร.หรือ ผบช.ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ผบ.ตร.)
32. การถอดหรือออกจากสัญญาบัตรให้เป็นไปตามระเบียบ ตร.และทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการ (หรือการออกจากชั้นใดให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่ง)
33.  ก.ตร.ประกอบด้วย
33.1  นายกเป็นประธาน/เลขาธิการ ก.พ./ผบ.ตร./จเรตำรวจแห่งชาติ/รอง ผบ.ตร.  ทั้งหมดเป็นกรรมการ ก.ตร.โดยตำแหน่ง
            33.2  ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งโปรดเกล้าจากผู้ได้รับคัดเลือก จำนวน 11 คน  ดังนี้
                        - ผู้เคยเป็นตำรวจระดับผู้บัญชาการขึ้นไป 5 คน พ้นจากการเป็นตำรวจเกิน 1 ปี
                        - ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์/รัฐศาสตร์/เศรษฐศาสตร์/รัฐประศาสนศาสตร์/อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม/สาขาอื่นที่ ก.ตร.กำหนด จำนวน 6 คน (หรือเลือกจากคนที่เคยเป็นตำรวจเกิน 10 ปีและอายุไม่เกิน 65 ปี อาจได้รับเลือก 1 คน)
หมายเหตุ***จำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ตร.เพิ่ม  ขึ้นอยู่กับจำนวนรอง ผบ.ตร.ที่เพิ่มขึ้นด้วย***
34.        ผู้บัญชาการ สนง.ก.ตร.เป็นเลขา ก.ตร.  รและรอง สนง.ก.ตร.เป็นผู้ช่วยเลขาฯ
35.        ก.ตร.มีหน้าที่ กำหนดนโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคล เช่น การอบรมตำรวจ/ออกระเบียบเกี่ยวกับการสอบ/การบรรจุ/การแต่งตั้ง โยกย้าย/การลงโทษ/กำหนดชั้นยศ เงินเดือน/อนุมัติ ควบคุม กพ.7
36.        ก.ตร.มีอำนาจออกกฎ ก.ตร.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
37.        กรรมการ ก.ต.ช. จะเป็นกรรมการ ก.ตร. ขณะเดียวกันไม่ได้  ยกเว้น นายกและ ผบ.ตร.
38.        กรรมการคุณวุฒิ ก.ตร.มาจาก
38.1    กรรมการระดับ ผบช.ขึ้นไป  ให้ตำรวจระดับผู้กำกับ พนง.สอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ  เป็นผู้เลือก
38.2    กรรมการสาขาต่างๆ ให้กรรมการโดยตำแหน่งและคนที่ได้รับเลือกจาก 38.1 เป็นผู้เลือก
39.        ให้ประธาน ก.ตร.รับสมัครแล้วจัดส่งรายชื่อผู้สมัครกรรมการ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วจัดส่งรายชื่อไปให้ผู้มีสิทธิ์เลือกก่อนวันเลือกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน
40.        กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ตร.มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี วาระเดียว
41.        ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน ก่อนครบวาระ
42.        ถ้ามีผู้ร้องไม่น้อยกว่า 6 คนขอให้ประชุม ให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ เรียกประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง
43.        ตำแหน่งข้าราชการตำรวจ มี 13 ตำแหน่ง  เฉพาะจุดสำคัญดังนี้
-ผู้บังคับการ                เทียบ  พนง.สอบสวน ผชช.พิเศษ
-รองผู้บังคับการ          เทียบ  พนง.สอบสวน ผชช.
-ผู้กำกับการ                 เทียบ  พนง.สอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ
-รองผู้กำกับการ           เทียบ  พนง.สอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ
-สารวัตร                      เทียบ  พนง.สอบสวนผู้ชำนาญการ
-รองสารวัตร               เทียบ  พนง.สอบสวน
44.  ในส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะให้มีตำแหน่งใด  เท่าใด  คุณสมบัติอย่างไร  มียศหรือไม่  ให้เป็นไปตามที่ ก.ตร. กำหนด
45.  การกำหนดตำแหน่งตั้งแต่ ผู้บังคับการ/พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก    ก.ต.ช.ก่อน
46.  การแต่งตั้งพนักงานสอบสวนมีจำนวนเท่าใดเป็นไปตามระเบียบ ก.ตร.
47.  การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
            - ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โปรดเกล้าฯ จาก  ยศพลตำรวจเอก
            - ตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ  และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โปรดเกล้าฯ จาก ยศตำรวจโทหรือพลตำรวจเอก
            - ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โปรดเกล้าฯ  จาก ยศพลตำรวจโท
            - ผู้บัญชาการ  โปรดเกล้าฯ  จาก  ยศพลตำรวจตรีหรือพลตำรวจโท
            - รองผู้บัญชาการ  โปรดเกล้าฯ  จาก  ยศตำรวจตรี
            - ผู้บังคับการ/พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  โปรดเกล้าฯ  ยศพันตำรวจเอก (ต้องได้รับเงินเดือนพิเศษ)
            - รองผู้บังคับการ  และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาย  แต่งตั้งจาก ยศพันตำรวจเอกสาร หรือ ยศพันตำรวจเอกได้รับเงินเดือนพิเศษ
            - ผู้กำกับการ  แต่งตั้งจาก  ยศพันตำรวจโทหรือพันตำรวจเอก
            - รองผู้กำกับการ/พนง.สอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ  แต่งตั้งจากพันโท
            - ตำแหน่งสารวัตร และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ  แต่งตั้งจากร้อยตำรวจเอกแต่ไม่สูงกว่าพันตำรวจโท
            -รองสารวัตร/พนง.สอบสวน  แต่งตั้งจากร้อยตรี-ร้อยเอก
            - ผู้บังคับหมู่  แต่งตั้งจาก  สิบตำรวจตรี ดาบตำรวจ
            - รองผู้บังคับหมู่  แต่งตั้งจากชั้นพลตำรวจ
48.  การแต่งตั้ง ผบ.ตร. ให้นายกรัฐมนตรี คัดเลือกแล้วเสนอ ก.ต.ช. เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนำทูลเกล้าฯ
49.  การแต่งตั้งจเร + ผู้ช่วย ผบ.ตร. + ผู้บัญชาการ  ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คัดเลือกแล้วเสนอ ก.ตร. ให้ความเห็นชอบก่อนนำกราบทูล
50.  การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ และ ผู้บังคับการ ใน สง.ตร.
            ผบ.ตร. เลือก-----เสนอ ก.ตร.เห็นชอบ-----นายกนำกราบทูลเพื่อแต่งตั้ง
51.  การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ และ ผู้บังคับการ ในกองบัญชาการ มิได้สังกัด สง.ตร.
            ผบช.คัดเลือก---เสนอ ผบ.ตร.----เสนอ ก.ตร.เห็นชอบ---นายกนำกราบทูลเพื่อแต่งตั้ง
52.  การแต่งตั้ง รอง ผบก.- รอง ผบ.หมู่ ใน สง.ตร.หรือกองบัญชาการมิได้สังกัด
            ผบ.ตร.(ผบช.) แต่งตั้งโดยมีผู้บังคับการเสนอแนะด้วย
53.  การแต่งตั้ง ผกก.- รอง ผบ.หมู่ ไม่สูงกว่าเดิมในกองบัญชาการสังกัด สง.ตร. ให้ ผบช.แต่งตั้ง โดย ผบก.แนะนำ
54.  การแต่งตั้งจากส่วนราชการหนึ่งไปส่วนราชการหนึ่ง
            54.1 การแต่งตั้ง รอง ผบช. และ ผบก. ระหว่าง สง.ตร.กับกองบัญชาการไม่สังกัด  (ผบ.ตร.เสนอเห็นชอบ นายกนำกราบทูล)
            54.2  การแต่งตั้ง รอง ผบก.-รอง ผบ.หมู่ ระหว่าง สง.ตร.กับกองบัญชาการไม่ได้สังกัด (ผบ.ตร.หรือ ผบช.แต่งตั้ง)
            54.3  การแต่งตั้ง รอง ผบก.-รอง ผบ.หมู่ ระหว่างกองบัญชาการมิได้สังกัด (ผบช.แต่งตั้ง)

เอกสารการติวภาษาไทย





ภาษาไทย ชุด 4
1. ข้อเขียนนี้ดงให้เห็นธรรมชาติของภาษาในเรื่องใด...
          รัก รัก รัก คำสั้น ๆ
          ไม้หันอากาศมักลอยหายไปในอากาศ
          แทนที่จะรักกลับกลายเป็นรก
          รีบร้อนจนลืมสระ อี ลืมสิ่งดี ๆ บางทีต้องรบกัน

1. ภาษามีการเปลี่ยนรูป
2. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง
3. ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย
4. ภาษาสร้างหน่วยใหม่ได้
ตอบ 4 สังเกตจาก รัก เป็น รกและรีบ เป็น รบ

2. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะประสมมากที่สุด (นับเสียงซ้ำ)
1. ชาญหาญชาญเชี่ยวเที่ยวไพร สองขาพาไป บ่มัวบ่เมาเขลาขลาด
2. ขาเขาคือกิ่งพฤกษชาติ ช่อชูดูดาษ และดกด้วยดอกออกระดะ
3. ไป่ช้าเป็นผลปนคละ โตโตโอชะ รสาภิรสหมดมวล
4. โทษหลายกลายแก้แปรปรวน เจือจุนคุณควร เพราะเหตุที่เที่ยวเทียวเดิน
ตอบ 4 มีพยัญชนะประสม 4 คำ คือ กลาย แปร ปรวน เพราะ

3. ข้อใดมีสระประสมครบทั้ง 3 เสียง
1. ระบอบการเมืองที่มีรัฐสภาเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง
2. การเลือกตั้งคือการมอบอำนาจให้แก่ประชาชนทั่วไป
3. ถ้าทุกคนหลงเชื่อคำชักชวนง่าย ๆ จะเสียใจภายหลัง
4. รูปรสกลิ่นเสียงเป็นเรื่องที่ไม่เที่ยงแท้ทุกคนแก่เหมือนกันหมด
ตอบ 3 มีสระประสมครบ 3 เสียง คือ เชื่อ(เอือ) ชวน(อัว) เสีย(เอีย)

4. พยางค์ในข้อใดมีจำนวนเสียงสั้นเท่ากับจำนวนเสียงยาว
1. รักยาวให้บั่น
2. เรือล่มเมื่อจอด
3. น้ำร้อนปลาเป็น
4. จับปลาสองมือ
ตอบ 3 น้ำ เป็น ออกเสียงสั้น ร้อน ปลา ออกเสียงยาว

5. ข้อใดไม่มีพยางค์คำตายที่เป็นคำครุ
1. เภสัชกร
2. ศิลปศาสตร์
3. สังคมสงเคราะห์
4. วิทยากร
ตอบ 3 ข้อ 1 มีคำตายที่เป็นครุ คือ สัช
ข้อ 2 มีคำตายที่เป็นครุ คือ ศาสตร์
ข้อ 4 มีคำตายที่เป็นครุ คือ วิท

6. ข้อใดทุกคำมีรูปพยัญชนะไม่ออกเสียง
1. ท่อ ศุกร์ ฉัตร
2. โทรม ไทย เมีย
3. เหตุ โจทย์ อำมาตย์
4. แสร้ง หลาก กัลป์
ตอบ 4 แสร้งไม่ออกเสียง หลากไม่ออกเสียง กัลป์ ไม่ออกเสียง

7. ข้อใดมีอักษรสูงมากที่สุด (นับตัวซ้ำ)
1. ฝูงชนกำเนิดคล้าย คลึงกัน
2. ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ แผกบ้าง
3. ความรู้อาจเรียนทัน กันหมด
4. ยกแต่ชั่วดีกระด้าง อ่อนแก้ฤาไหว
ตอบ 2 มีอักษรสูง 3 ตัวคือ

8. ข้อใดทุกคำเป็นคำมูล
1. มะพร้าว ทะเลาะ ตะกละ
2. เฉลย หลอกลวง จระเข้
3. พราน กระเถิบ นักเลง
4. ตลก กระเป๋า กะลา
ตอบ 4 ข้อ 1 มะพร้าว เป็น คำประสม
ข้อ 2 หลอกลวง เป็น คำซ้อน
ข้อ 3 นักเลง เป็น คำประสม

9. ข้อใดมีคำซ้ำมากที่สุด
1. นี่เธอ เธอช่วยฉันหยิบถุงออกมาหน่อยนะ ฉันกำลังยุ่งยุ่ง ช่วยช่วยหน่อยละกันนะ
2. ฉันชอบฟังเพลงเพลงนี้ที่สุดเลย ฟังฟังแล้วเหมือนชีวิตฉัน แถมยังเพราะเพราะยังไงไม่รู้
3. เธอเห็นเขาไหม อยู่อยู่ก็ลุกหนีไปเลย เพื่อนเพื่อนงงกันไปแถว แค่เถียงเถียงกันนิดหน่อย
4. คุณครูขา ที่ที่คุณพ่อหนูจะพาไปดูนี่ไกล๊ไกลนะคะ ครูจะไปเหรอคะ พ่อบอกว่าอยู่ข้างข้าง
โรงงานด้วยค่ะ
ตอบ 3 มีคำซ้ำ 3 คำคือ อยู่อยู่ เพื่อนเพื่อน เคียงเคียง

10. ข้อใดทุกคำเป็นคำสนธิ
1. นภาลัย จินตนาการ วิทยากร
2. วิทยาเขต พัฒนาการ วิเทโศบาย
3. กรกฎาคม ธันวาคม วัฒนธรรม
4. ไพรินทร์ คเชนทร์ มหรรณพ
ตอบ 4 ข้อ 1 วิทยากร เป็นคำสมาสที่ไม่มีการสนธิ
ข้อ 2 วิทยาเขต , พัฒนาการ เป็นคำสมาสที่ไม่มีการสนธิ
ข้อ 3 วัฒนธรรม เป็นคำสมาสที่ไม่มีการสนธิ

11. ทุกคำในข้อใดมีโครงสร้างการสร้างคำเหมือนกับ อมยิ้ม
1. ลูกกวาด ทองหยอด
2. มวยปล้ำ กระโดดไกล
3. สามล้อ สองแถว
4. ต้มยำ ห่อหมก
ตอบ 4 โครงสร้างของคำว่าอมยิ้มคือกริยา+กริยาซึ่งตรงกับข้อ 4

12. คำที่ขีดเส้นใต้ข้อใดเป็นกริยาอกรรม
1. เธอบอกพ่อว่าจะกลับบ้านเร็ว
2. เขายืนเบียดฉันอยู่ตั้งนาน
3. กล้วยนั่น แม่ซื้อมาเอง
4. ไม่หิ้วแล้ว กระเป๋าใบนี้หนักเหลือเกิน
ตอบ 2 อกรรมกริยา คือ กริยาที่ไม่ต้องการกรรม

13. ข้อใดเป็นประโยครวม
1. เธอวิ่งหนีผู้ชายคนนั้นมา
2. เธอสวมชุดสายเดี่ยวสีเขียว
3. เธอบอกให้เขาเดินช้าช้า
4. คุณแม่ของเธอพูดกับตำรวจข้างบ้านเมื่อวานซืน
ตอบ 1 ข้อ 1 วิ่งหนี มีกริยา 2 ตัว คือ วิ่ง+หนี จึงถือเป็นประโยคความรวม

 ใช้ข้อความต่อไปนี้ ตอบข้อ 14 - 15
1. ผู้ที่มีปัญญาย่อมไม่กระทำสิ่งเสียหาย
2. พัฒนาของเด็กเป็นประเด็นที่พูดถึงกันมากในปัจจุบัน
3. ข้อความตอนนี้พรรณนาความลำบากของชีวิตนักแสดงได้ดีมาก
4. ปรารถนาชอบทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง
5. วิชานี้สมหญิงเรียนก่อนเดินทางไปต่างประเทศ

14. ข้อใดเป็นประโยคกรรม
1. ข้อ 2
2. ข้อ 3
3. ข้อ 4
4. ข้อ 5
ตอบ 4 ข้อ 5 เอากรรมคือวิชาขึ้นประโยค จึงถือเป็นประโยคกรรม

15. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
1. ข้อ 1 กับ ข้อ 2
2. ข้อ 2 กับ ข้อ 3
3. ข้อ 3 กับ ข้อ 4
4. ข้อ 4 กับ ข้อ 5
ตอบ 4 ข้อ 4 มีกริยา 2 ตัว คือ ชอบ+ทิ้ง จึงเป็นประโยคความรวม
         ข้อ 5 มี 2 ประโยคและเชื่อมด้วยก่อนจึงเป็นประโยคความรวม

16. ข้อใดไม่ใช่ประโยค
1. การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่อำเภอบ่อพลอยสุดฉลุย
2. การดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาเน้นกิจกรรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการของรัฐ
3. ยุทธวิธีฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนโดยกลุ่มออมทรัพย์ของอำเภอจะนะ
4. การพัฒนาอาชีพด้านเกษตรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพป่า
ตอบ 3 ข้อ 3 ยังขาดกริยาสำคัญของประโยค
17. คำกริยาในข้อใดเป็นคำกริยาหลักของประโยคต่อไปนี้
ข่าวคราวที่ปรากฏ เป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลรับน้องใหม่กลายเป็นประเด็นที่คนทั่วไปสนใจกันมาก
1. ปรากฏ
2. เป็นประจำ
3. กลายเป็น
4. สนใจ
ตอบ 3 กริยาหลักคือกริยาสำคัญที่สุดของประโยค

18. ข้อความใดใช้ภาษาเหมาะสมกับการทำรายงานทางวิชาการมากที่สุด
1. แร้งไม่ใช่นกที่คนชอบเพราะมันชอบกินซากศพของเน่าเปื่อย
2. ตัวละครเอกประมาทในชีวิต เรื่องจึงลงเอยอย่างน่าสะเทือนใจ
3. ครอบครัวของเราประหยัดขึ้น ไม่ออกไปรับประทานข้าวนอกบ้านอีก
4. นักวิทยาศาสตร์ไทยจะนำของที่เหลือทิ้งอย่างเปลือกกุ้ง กระดองปูมาใช้ประโยชน์
ตอบ 4 - ข้อ 1 คำว่าชอบกินใช้ภาษาไม่วิชาการ
- ข้อ 2 คำว่าลงเอยใช้ภาษาไม่วิชาการ
- ข้อ 3 คำว่าอีกใช้ภาษาไม่วิชาการ

19. ข้อใดใช้ราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง
1. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานพระราโชวาทแก่บัณฑิตที่
จบจากวิทยาลัยครู
2. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชปรารภเกี่ยวกับเรื่องนี้มาช้านานแล้ว
3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จประพาสประเทศสหรัฐอเมริกา
4. หม่อมเจ้าองค์นี้สิ้นชีพิตักษัยมาหลายปีแล้ว
ตอบ 2 - เพราะทรงมีพระราชปรารภใช้ผิด ที่ถูกต้องแก้เป็นมีพระราชปรารภ
20. คำว่า ล้างในข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น
1. เมื่อไหร่มีงานเลี้ยงเขาจะเตรียมล้างท้องรอทันที
2. ธุรกิจเกี่ยวกับการล้างพิษ ได้รับความนิยมในหมู่คนอ้วน
3. หลังจากทานอาหารคาวเสร็จแล้วบางคนล้างปากด้วยของหวาน
4. นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จในชีวิตแล้วมักจะล้างมือจากวงการ
ตอบ 4 - “ล้างในข้อ 4 มีความหมายเปรียบเทียบ ข้ออื่น ๆ มีความหมายนัยตรง
21. คำในข้อใดเมื่อเติมในช่องว่างแล้วแสดงว่าผู้พูดแน่ใจคุณจะไปทัศนศึกษาพรุ่งนี้………….”
1. ไม่ใช่หรือ
2. หรือ
3. ใช่ไหม
4. ไหม
ตอบ 1
22. คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดมีความหมายแฝงในด้านลบอย่างชัดเจนที่สุด
1. เทือกเถาเหล่ากอของเขาอยู่จังหวัดไหน
2. ญาติโกโหติกาของเขาไม่เคยมาเยี่ยมเลย
3. วงศ์วานว่านเครือของเขาทำงานอะไร
4. วงศาคณาญาติของเขาจะยอมรับเธอหรือ
ตอบ 1 ความรู้สึกลบแฝงในข้อ 1 ชัดเจนที่สุด
23. ข้อใดใช้คำเชื่อมผิด
1. คุณจะทำอะไรก็ได้ตามสะดวก
2. เขาอยู่ใต้อำนาจเงินจนน่าเป็นห่วง
3. พวกเราอยากทำงานให้สำเร็จด้วยดี
4. อย่าปล่อยให้เด็กเล็ก ๆ อยู่โดยลำพัง
ตอบ 4โดยลำพังที่ถูกต้องแก้เป็นตามลำพัง
24. ข้อใดใช้สำนวนภาษาได้ถูกต้อง
1. ผมเป็นครูมานาน ใคร ๆ ก็เรียกผมว่าพ่อพิมพ์ของชาติ
2. ขณะที่ลูกอยู่ในห้องผ่าตัด แม่กระวนกระวายจนนั่งไม่ติดเก้าอี้
3. สอบเสร็จแล้ว เรายังเป็นลูกผีลูกคนอยู่เลย ไม่ทราบว่าจะได้หรือตก
4. ถ้าเราทุกคนร่วมมือร่วมใจเป็นชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า งานนี้คงสำเร็จลงด้วยดี
ตอบ 3 ข้อ 1 ต้องแก้พ่อพิมพ์เป็นแม่พิมพ์
ข้อ 2 ต้องแก้ไม่นั่งติดเก้าอี้เป็นนั่งไม่ติด
ข้อ 4 ต้องแก้ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่าเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
 

25. ประโยคใดไม่มีข้อบกพร่องในการใช้ถ้อยคำ
1. เราจะใช้วิธีการลงโทษอย่างไรจึงจะสาสมกับความผิดของเขา
2. ข้าพเจ้ารู้สึกภาคภูมิและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาอภิปรายวันนี้
3. ทีมแบดมินตันของไทยชนะกราวรูดได้เหรียญทอง 3 เหรียญ
4. มีผู้กล่าวเปรียบเปรยไว้ว่ารถไฟขบวนนี้ของญี่ปุ่นวิ่งได้เร็วกว่ากระสุนปืน
ตอบ 1 ข้อ 2 ต้องแก้ภาคภูมิเป็นภูมิใจ
ข้อ 3 ต้องแก้ชนะกราวรูดเป็นชนะรวด
ข้อ 4 ต้องแก้เปรียบเปรยเป็น เปรียบเทียบ
26. ข้อใดใช้สำนวนถูกต้อง
1. นี่คุณ มีอะไรก็พูดกันตรง ๆ ดีกว่า อย่าเสียเวลาเป็นเจ้าถ้อยหมอความ อยู่เลย
2. เด็กคนนี้ซนเหลือเกินเหมือนจับแพะชนแกะ ครูประจำชั้นหนักใจมาก
3. เรื่องนี้จะโทษใครคนเดียวไม่ได้ ฉันเห็นว่าผิดทั้งสองคน เข้าทำนองขนมพอผสมกับน้ำยา
4. ป้าอาศัยลูกที่มีรายได้ไม่มากนัก จึงคอยเก็บเงินได้เล็ก ๆ น้อย ๆ แบบน้ำซึมบ่อทราย
ตอบ 3 ข้อ 1 ต้องแก้เจ้าถ้อยหมอความเป็นอ้อมค้อม
ข้อ 2 ต้องแก้จับแพะชนแกะเป็นจับปูใส่กระด้ง” 
27. ข้อใดใช้ภาษาได้กะทัดรัด
1. กล้วยสุกนั้นนำมาทำเป็นขนมได้หลายชนิด
2. ที่ผมเป็นห่วงคืออาหารถุงที่ขึ้นราคาจากเดิม 5 บาท ขึ้นไปเป็น 8 บาท
3. พบศพชายไทยไม่ทราบชื่อถูกยิงตามลำตัวนอนตายอยู่ที่ริมถนนวิภาวดีรังสิต
4. ศาลพิเคราะห์คำสารภาพของจำเลยแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำผิดด้วยความจำเป็นจึงตัดสินให้จำคุก 4 ปี
ตอบ 4 ข้อ 1 ฟุ่มเฟือยตรง กล้วยสุกนั้น
ข้อ 2 ฟุ่มเฟือยตรงจากเดิม
ข้อ 3 ฟุ่มเฟือยตรงศพ…..นอนตาย
28. ข้อใดเรียงลำดับคำได้ถูกต้อง
1. อาหารไทยเป็นอาหารที่ชาวต่างชาตินิยมรับประทานกันมาก
2. กรุงเทพมหานครกำลังเร่งแก้ไขอย่างรีบด่วนเรื่องปัญหาน้ำท่วมขัง
3. ชมรมดูนกกำลังรับสมัครสมาชิกใหม่ที่บึงพระรามเป็นจำนวนมาก
4. มีนักศึกษาหลายคณะเข้าร่วมโครงการ ถนนสีขาวรวมทั้งชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ตอบ 1 - ข้อ 2 ต้องแก้เป็นกำลังแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังอย่างรีบด่วน
- ข้อ 3 ต้องแก้เป็นกำลังรับสมัครสมาชิกจำนวนมากที่บึงพระราม
- ข้อ 4 ต้องแก้เป็นนักศึกษาหลายคณะรวมทั้งชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้าร่วมโครงการถนนสีขาว
29. ข้อใดเรียบเรียงตามลักษณะประโยคภาษาไทย
1. ผู้บริหารจำเป็นต้องมีเจตคติที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
2. ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
3. เยาวชนเป็นผู้ที่นำมาซึ่งความหวังของสังคม
4. วัคซีนชนิดนี้แม้ว่าจะมีข้อดี แต่ก็ไม่ควรใช้ในผู้ใหญ่วัยชรา
ตอบ 1 - ข้อ 2 มีสำนวนต่างประเทศตรงการแพร่ระบาดของโรคเอดส์
- ข้อ 3 มีสำนวนต่างประเทศตรงนำมาซึ่ง
- ข้อ 4 มีสำนวนต่างประเทศตรงไม่ควรใช้ใน……”
30. ประโยคใดใช้ภาษาฟุ่มเฟือย
1. ผมจะไม่ตำหนิตำรวจเด็ดขาด ในกรณีที่เกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯเมื่อฝนตกหนัก
2. อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสมองไหลก็คือ การไม่ได้รับความยุติธรรมจากเจ้านาย
3. ปัจจุบันอัตราการเสียชีวิตของประชากรเพราะอุบัติเหตุมีมากกว่าอัตราการเสียชีวิตเพราะโรคร้ายต่าง ๆ
4. เขาให้ความสนใจเรื่องการเล่นกีฬามาก เขาจึงสะสมวารสารต่างประเทศที่เกี่ยวกับกีฬาไว้มากมาย
ตอบ 4 ฟุ่มเฟือยตรงให้ความสนใจ
31. ข้อใดใช้ภาษาในการประชุมไม่ถูกต้อง
1. จากการลงคะแนนเสียงที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์รับหลักการตามคำสั่งของมหาเถรสมาคมเรื่องห้ามพระสงฆ์เกี่ยวข้องกับการเมือง
2. ทางมหาวิทยาลัยยังไม่สามารถระบุช่วงเวลาที่แน่นอนในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเนื่องจากในระหว่างการเปลี่ยนอธิการบดี
3. ตามที่กรรมการท่านหนึ่งเสนอให้จัดดนตรีเพื่อหารายได้เข้าชมรมนั้น จะขอฟังความคิดเห็นจากคนอื่นด้วยอยากให้กรรมการท่านนี้ผูกขาดความคิดเห็นเพียงท่านเดียว
4. การจะพิจารณาว่าปีนี้ทางชมรมจะไปออกค่ายอาสาพัฒนาชนบทยังจังหวัดใดนั้น ขอเลื่อนไปคราวหน้าเพื่อให้รองประธานออกไปสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมก่อน
ตอบ 3 เห็นจากไม่อยาก………..”
32. ข้อใดเรียงลำดับความต่อไปนี้ได้ใจความชัดเจนที่สุด
ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีเพียงเวลาสอนหนังสือไม่ได้สอนคน
อีกทั้งพ่อแม่ต้องการให้ครูสอนหนังสือมากกว่าสอนคน
อธิบดีกรมวิชาการกล่าวว่าสถาบันการศึกษาควรมีมาตรการ
ทั้งนี้เป็นเพราะความจำเป็นทางเศรษฐกิจและสังคม
ให้คนที่จบออกไปประกอบอาชีพมีความเป็นคนและเป็นนักวิชาชีพที่ดี
1. 1 2 4 5 3
2. 1 4 2 5 3
3. 3 5 1 4 2
4. 3 4 1 2 5
ตอบ 3 สังเกตจากน่าเป็นห่วง
33. ข้อความตอนใดเป็นการแสดงทรรศนะ
การรุกรานทางวัฒนธรรมเป็นปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม
วัฒนธรรมที่มีกำลังแรงกว่าจะไหลบ่าเข้าสู่สังคมมีวัฒนธรรมต่ำกว่า
สังคมชาวเลในแถบชายฝั่งทะเลอันดามันก็น่าเป็นห่วง
ทั้งนี้เพราะกำลังถูกคุกคามทั้งจากคนเมืองวัฒนธรรมสมัยใหม่
1. ตอนที่ 1
2. ตอนที่ 2
3. ตอนที่ 3
4. ตอนที่ 4
ตอบ 3
ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 34 - 36
อำนาจของกรรมนั้นใหญ่ยิ่ง
ทุกคนย่อมหลีกหนีผลกรรมของตนไม่พ้น
จะต้องได้รับผลของกรรมที่ตนได้กระทำแล้ว
ทำกรรมดีใจจักได้รับผลของกรรมดีนั้น
ทำกรรมไม่ดีใดจักได้รับผลของกรรมไม่ดีนั้นแน่นอนเสมอไป
34. ข้อใดมีความหมายต่างกับข้อความข้างต้น
1. อันกรรมบถสิบ กุศล ก่อเกิดพิบูลผล เสริมสุข
2. กรรมใดก่อขึ้นย่อม ยังผล ดีชั่วดังที่ตน ประพฤติ
3. อ้ากรรมสินำผล ณชิวีจิรไซร้ เพราะกรรมกระทำให้ ผลชวดและขื่นขม
4. ทำดีจักได้ยล ผลเลิศ ทำชั่วจักเสียจิต เพราะโทษตามทัน
ตอบ 1กรรมในข้อ 1 หมายถึงความดีแต่ในข้อความข้างต้นกรรมหมายถึงผลจากการกระทำที่ไม่ดี 
35. ข้อความใดเป็นข้อสรุปของข้อความทั้งหมด
1. ข้อความที่ 1
2. ข้อความที่ 3
3. ข้อความที่ 4
4. ข้อความที่ 5
ตอบ 1 เพราะเค้ากำลังพูดถึงอำนาจกรรมว่ายิ่งใหญ่
36. สันธานชนิดใดเหมาะที่จะใช้เชื่อมข้อความที่ 4 กับ 5
1. สันธานที่แสดงความขัดแย้งกัน
2. สันธานที่แสดงความคล้อยตามกัน
3. สันธานที่แสดงความเป็นเหตุเป็นผลกัน
4. สันธานที่แสดงความต่อเนื่องกันตามเวลา
ตอบ 2 เชื่อมด้วยคำว่าและได้ จึงเป็นคำเชื่อมแบบคล้อยตาม
ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 37 - 38
ก) การต่อสู้ให้ได้มาซึ่งเสรีภาพบนเส้นทางประชาธิปไตยด้วยความเชื่อมั่น
ข) นักหนังสือพิมพ์หรือนักข่าวได้มีความกล้าหาญที่ไม่เคยหยุดนิ่งหรือยอมจำนน
ค) ทุกคนร่วมกันต่อสู้ ดิ้นรนแสวงหาเสรีภาพอยู่เสมอ
ง) ดังจะเห็นได้จากการเรียกร้องให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42
37. ข้อความตอนใดไม่มีการแสดงความคิดเห็น
1.
2.
3.
4.
ตอบ 4 - ข้อ 1 มีความคิดเห็นตรงด้วยความเชื่อมั่น
- ข้อ 2 มีความคิดเห็นตรงได้มีความคิดเห็น
- ข้อ 3 มีความคิดเห็นตรงอยู่เสมอ” 
38. การใช้ภาษาในข้อความตอนใดไม่มีข้อบกพร่อง
1.
2.
3.
4.
ตอบ 4 - ข้อ 1 ใช้สำนวนต่างประเทศตรงได้มาซึ่ง
- ข้อ 2 ใช้คำฟุ่มเฟือยตรงมีความกล้าหาญ
- ข้อ 3 ใช้คำฟุ่มเฟือยตรงต่อสู้ดิ้นรน

39. ข้อความต่อไปนี้เป็นทรรศนะประเภทใด
"สัตว์ในสวนสัตว์ไร้ชีวิตจิตใจที่เป็นธรรมชาติของมัน นั่ง ๆ เดิน ๆ เพื่อรอวันตายให้พ้นทุกข์พ้นร้อนไปเท่านั้น สวนสัตว์แบบเดิมนี้ จึงเป็นการรังแกสัตว์อย่างเปิดเผยอย่างหนึ่งนั่นเอง"
1. ทรรศนะเชิงข้อเท็จจริง
2. ทรรศนะเชิงคุณค่า
3. ทรรศนะเชิงนโยบาย
4. ทรรศนะเชิงค่านิยม
ตอบ 1 - ทรรศนะข้อเท็จจริงเป็นการคาดคะเน คาดหมาย
 

40. คำขวัญสำหรับผู้เดินการกุศลในข้อใดเป็นการวิเคราะห์ผู้ฟังได้เหมาะสมที่สุด
1. ออกกำลังทุกวัน สร้างสรรค์บุคลิก
2. ออกกำลังเป็นนิจ จิตแจ่มใส
3. สุขกายเป็นนิจ สุขจิตพาเพลิน หมั่นเดินหมั่นวิ่ง
4. สุขภาพอนามัยดี เสริมราศี ชีวีสดใส
ตอบ 3 - เพราะเค้าต้องการชวนคนไปเดินมีเพียงข้อ 3 ที่พูดถึงการเดิน

41. ข้อใดไม่ใช้วัจนภาษา
1. ว่าเราเลวเราอย่าเหลวทำเลวลง ต้องทะนงต่อต้านทานหยามคำ
2. ตนเตือนตนของตนให้พ้นผิด ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน
3. ถึงชนกชนนีจะชังชิง ลูกจะวิงวอนง้อขอโทษกรณ์
4. จงเขียนคัดหัดจำตามคำบอก ความรู้ศอกจะเป็นวาอย่างสงสัย
ตอบ 2 - ข้อ 2 “การเตือนตัวเองเป็นการพูดในใจไม่ใช่การแสดงออกจึงไม่ใช่วัจนภาษา

42. ข้อใดไม่ใช่การเขียนแบบพรรณนา
1. อุทยานรอบมหาสถานนั้นเล่าก็งามไม่น้อย เต็มไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ไม้ดอกและลดาวัลย์งาม น่าทัศนา
2. ทุก ๆ ตึกนั้นแบ่งออกเป็นสอบบ้าน ทุก ๆ บ้านมีขนาดและการจัดแบ่งห้องเหมือนกัน ทุก ๆ ห้องมีขนาดเล็กคับแคบมากราวหนึ่งในสี่ของห้องนอนข้าพเจ้าที่วังปารุสก์
3. ภาพแสงโคมที่ห้อยจากเพดาน รวมทั้งแสงเทียนบนแท่นที่บูชา ภาพพระประธานองค์ใหญ่ทรงไว้ซึ่งรัศมีอันไพโรจน์ ล้วนเป็นภาพที่สดใสตระการตาน่าชมยิ่งนัก
4. โลหิต คือสายธารแห่งชีวิต ถ้าร่างกายขาดโลหิต ชีวิตก็อยู่ไม่ได้ โลหิตจึงเป็นน้ำหล่อเลี้ยงร่างกายที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้มีชีวิตอยู่
ตอบ 4 - พรรณนาคือการเขียนให้เห็นภาพ ข้อ 4 เป็นการบรรยาย (เล่าเรื่อง)


43. “กระดาษที่ใช้ห่อหรือใส่อาหารโดยเฉพาะพวกกล้วยทอด มันทอด กล้วยปิ้งนั้น ไม่ควรเป็นกระดาษที่มีตัวหนังสือ ทั้งนี้เพราะหมึกพิมพ์นั้นจะมีพวกโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว โครเมียม แคดเมียมเป็นส่วนประกอบ ถ้าหมึกพิมพ์ไปถูกอาหารก็จะติดอาหารไป เรารับประทานเข้าไปสะสมในร่างกายทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ข้อความนี้เป็นการเขียนลักษณะใด
1. การอธิบายโดยยกตัวอย่าง
2. การบรรยายตามลำดับขั้นตอน
3. การอธิบายโดยชี้เหตุและผล
4. การบรรยายโดยกล่าวซ้ำ
ตอบ 3 - สังเกตจากเพราะ……………”


44. ข้อใดไม่ใช่การเตรียมบุคลิกภาพของผู้พูด
1. การเตรียมเลือกสรรเนื้อหาเพื่อให้แง่คิดได้อย่างเหมาะแก่โอกาส
2. การเตรียมท่าเดินขึ้นเวทีให้มีท่าทางที่กระฉับกระเฉงและมีความกระตือรือร้น
3. การเตรียมเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับตัวเอง เช่น คนอ้วนไม่ใส่เสื้อที่มีลวดลายเล็ก
4. การเตรียมจังหวะในการพูดไม่ให้ช้าหรือเร็วจนเกินไป
ตอบ 1 - ข้อ 1 เป็นการเตรียมเนื้อหาไม่ใช่บุคลิกภาพ

ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 45 – 46
วัยรุ่นทุกคนจำเป็นต้องแก้ปัญหาชีวิตเมื่อประสบเหตุวิกฤตแต่ละอย่างได้ด้วยตนเอง ความรักอย่างเงียบ ๆ ของเรานั่นแหละที่จะช่วยประคับประคองเขาไว้ได้ ถ้าเราแนะนำก็ย่อมจะถูกปฏิเสธ ถ้าเราชี้แจงเหตุผลก็อาจถูกโกรธเคือง แม้แต่การตักเตือนเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็มักถูกมองไปในแง่โจมตีส่วนตัว การสร้างความไว้วางใจในความรักของพ่อแม่และการให้เกียรติแก่วัยรุ่นแต่ละคน คือการปล่อยให้เขาได้ฝ่าฟันภยันตรายในวิถีชีวิตของเขาด้วยตนเอง
45. ข้อความนี้ควรใช้ชื่อเรียกว่าอย่างไร
1. ทำอย่างไรกับวัยรุ่น
2. ปัญหาวัยรุ่น
3. ผู้ใหญ่กับวัยรุ่น
4. วัยรุ่นวัยวุ่น
ตอบ 1

46. “ความรักอย่างเงียบ ๆในข้อความนี้หมายความว่าอย่างไร
1. ให้อิสระเต็มที่
2. เชื่อใจทุกอย่าง
3. ดูแลอยู่ห่าง ๆ
4. ไม่แสดงความรักพร่ำเพรื่อ
ตอบ 3


ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 47 - 48
ในกาแฟมีสารเคมีชื่อกาเฟอีน ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นทั้งด้านจิตใจ ทางประสาทและทางกายทำให้เกิดความกระปรี้กระเปร่าคล่องแคล่วว่องไว ไม่ซึมไม่ง่วงเหงาหาวนอน แต่ก็เป็นสภาพชั่วคราว บางคนดื่มกาแฟแล้วถึงกับนอนไม่หลับ กาเฟอีนช่วยขยายหลอดเลือดเล็กน้อย ทำให้เลือดไหลเข้าสู่หัวใจและสมองได้ดีขึ้น คนบางคนไม่ถูกกับกาแฟ ดื่มกาแฟแล้วเกิดอาการปวดศีรษะและระบบย่อยอาหารไม่ดี
47. ผู้เขียนมีความมุ่งหมายอย่างไรในการเขียนข้อความนี้

1. ให้ข้อมูล
2. เตือนใหัระวัง
3. วิเคราะห์คุณและโทษ
4. ชี้ให้เห็นสิ่งที่ถูกมองข้าม
ตอบ 1 - เค้าต้องการให้เรารู้ว่าคาเฟอีนในกาแฟคืออะไร มีประโยชน์ - โทษ อะไร


48. ควรตั้งชื่อข้อความข้างต้นว่าอย่างไร
1. กาเฟอีนในกาแฟ
2. คุณและโทษของกาเฟอีน
3. ความรู้เรื่องสารกาเฟอีน
4. ข้อควรระวังเกี่ยวกับกาเฟอีน
ตอบ 1

ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 49 - 53
เมื่อเห็นเพื่อนของคุณใช้เครื่องประดับที่ทำด้วยงาช้าง ขอได้ปรานีเขาและปรานีช้างพอที่จะเล่าให้เขาฟังว่าช้างแอฟริกาได้ถูกทำลายลงไปอย่างน่าใจหายอย่างไร จะเล่าด้วยก็ได้นะครับว่าช้างนั้นเป็นสัตว์สังคมอย่างยิ่ง คือต้องอยู่กันเป็นโขลงและมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ตัวที่แก่และมีงายาวจะถูกฆ่าตายก่อน แล้วก็มาถึงงาธรรมดา โขลงช้างที่เหลือจึงเป็นสังคมช้างที่ขาดความสมดุลของวัยเพราะ เหลือแต่ช้างหนุ่มช้างสาว โอกาสจะเอาตัวรอดในธรรมชาติก็น้อยลง เขาประมาณกันว่าช้างซึ่งมีอายุไม่ถึง 10 ปี ร้อยละ 40 จะตายลง เมื่อพ่อแม่มันถูกฆ่าตายไปแล้ว เพียงแต่คุณยุติการใช้งาช้างได้สักคนหนึ่ง บางที ก็ได้รักษาชีวิตช้างไว้ได้เชือกหนึ่งแล้ว
49. จุดมุ่งหมายของผู้เขียนคือข้อใด
1. เสนอให้ช่วยกันอนุรักษ์ช้างป่า
2. รณรงค์ให้งดใช้เครื่องประดับจากงาช้าง
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับการลดจำนวนของช้าง
4. ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมและธรรมชาติของช้าง
ตอบ 2
50. “ปรานีเขาในข้อความข้างต้นมีความหมายตามข้อใด
1. ช่วยมิให้เพื่อนมีส่วนในการทำลายชีวิตสัตว์
2. ช่วยให้เพื่อนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องวิถีชีวิตของช้าง
3. ช่วยมิให้เพื่อนมีค่านิยมที่ผิด ๆ ในการใช้เครื่องประดับ
4. ช่วยให้เพื่อนเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของความสมดุลของธรรมชาติ
ตอบ 1


51. ข้อใดไม่อาจอนุมานได้จากข้อความข้างต้น
1. ช้างชอบอยู่รวมกันเป็นโขลง
2. ช้างเป็นสัตว์ที่ชอบอาศัยอยู่กับมนุษย์
3. ช้างจะเกื้อกูลกันเพื่อความอยู่รอดในธรรมชาติ
4. ช้างโขลงเดียวกันจะมีความสัมพันธ์กันในระบบอาวุโส
ตอบ 2

52. ข้อความนี้อนุมานได้ว่าผู้แต่งเป็นคนอย่างไรมากที่สุด
1. เป็นคนมีเหตุผล
2. เป็นคนที่มีอุดมการณ์
3. เป็นนักอนุรักษ์ธรรมชาติ
4. เป็นผู้เข้าใจปัญหาเกี่ยวกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 3 สังเกตจากการต้องการให้อนุรักษ์ช้าง
 
53. ท่วงทำนองการเขียนของข้อความนี้มีลักษณะใด
1. ยั่วยุ
2. โน้มน้าว
3. อ้อนวอน
4. ประชดประชัน
ตอบ 2โน้มน้าว” = ชักชวน นั่นเอง

ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 54 - 55
1. ใจเป็นธาตุละเอียดซับซ้อนเหมือนกลีบหัวหอม
2. เปลือกนอกสุดคือจิตสำนึกที่มีสติสัมปชัญญะปัญญารักษา
3. กลีบที่ซ้อนกันถัด ๆ เข้ามาจนถึงแก่นคือจิตใต้สำนึกและจิตไร้สำนึกที่สติปัญญายังเจาะไม่ถึง
4. แต่มันคือตัวพลังและคือ ประจุกรรม
5. การกระทำคำพูด ความคิด ทุก ๆ อย่างจะถูกหว่านลงในเนื้อจิตส่วนนี้
6. แล้วผลิหน่อแตกกิ่งก้านสาขาเป็นวิบากหรือผลแห่งกรรมนั้น ๆ ให้เราได้เสวยตามวาระ (
7. เราทำอย่างไรไว้เราย่อมได้รับผลนั้น ๆ เป็นสิ่งตอบแทน

54. ข้อใดไม่ใช่คู่เปรียบกันตามข้อความข้างต้น
1. กิ่งก้าน - วิบากกรรม
2. กลีบหัวหอม - ใจ
3. แก่น - จิตใต้สำนึก
4. หน่อ - เนื้อจิต
ตอบ 4 เพราะเนื้อจิต = จิต (ข้อความที่ 5) แต่ หน่อ คือ ผลของกรรม (ข้อความที่ 6) 
 
55. ข้อใดแสดงความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้องตามข้อความข้างต้น
1. ตอน (1) สนับสนุนตอน (2) และตอน (3)
2. ตอน (2) และตอน (3) ขยายความตอน (1)
3. ตอน (5) และตอน (6) สนับสนุนตอน (7)
4. ตอน (6) คล้อยตามตอน (4) และตอน (5)
ตอบ 3

ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 56 - 58
ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สะอาดที่สุด เพราะทุกหน่วยพลังงานที่ได้จากก๊าซธรรมชาติ ทำให้เกิดการแพร่กระจายของคาร์บอนไดออกไซด์เพียงครึ่งหนึ่งของถ่านหินและหนึ่งในสี่ของน้ำมันเท่านั้น นอกจากนั้นก๊าซธรรมชาติยังปลอดจากสารกำมะถันซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดฝนกรดเช่นเดียวกับถ่านหินและน้ำมัน และข้อสำคัญในทุก ๆ ปีจะมีการรนพบแหล่งก๊าซมากกว่าปริมาณการเผาผลาญ การค้นพบเท่าที่ปรากฏทุกวันนี้จะทำให้มีก๊าซธรรมชาติพอใช้ไปอีก 58ปีในอัตราการใช้โดยปกติในปัจจุบัน

56. ข้อความข้างต้นควรใช้หัวข้อว่าอย่างไร
1. ลักษณะของก๊าซธรรมชาติ
2. พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ
3. ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ
4. ข้อดีของก๊าซธรรมชาติ
ตอบ 4

57. ข้อใดไม่อาจอนุมานตามข้อความข้างต้น
1. ก๊าซธรรมชาติทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
2. ถ่านหินและน้ำมันถูกเผาผลาญเป็นปริมาณมากกว่าการค้นพบ
3. ก๊าซธรรมชาติจะยังคงมีใช้ต่อไปอีกกว่าครึ่งศตวรรษถ้าใช้ในอัตราเท่าเดิม
4. การใช้พลังงานน้ำมันทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แพร่กระจายมากกว่าการใช้พลังงานจากถ่านหิน
ตอบ 1 ไม่มีข้อความตอนไหนบอกว่า ก๊าซธรรมชาติทำลายธรรมชาติ น้อยมาก
 
58. ข้อความส่วนใดมีความกำกวม
1. ส่วนที่ 1
2. ส่วนที่ 2
3. ส่วนที่ 3
4. ส่วนที่ 4
ตอบ 2 ตีความได้ 2 อย่าง คือ
- ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินและน้ำมันไม่มีสารกำมะถันซึ่งเป็นต้นเหตุของฝนกรด
- ก๊าซธรรมชาติไม่มีสารกำมะถัน แต่ถ่านหินและน้ำมันมีสารกำมะถัน
 
59. “เอดส์ลดหรือเพิ่ม เริ่มที่ผู้ชายข้อใดที่ตีความคำขวัญนี้ได้ถูกต้องชัดเจนที่สุด
1. ผู้หญิงไม่ใช่ต้นเหตุของการเกิดโรคเอดส์
2. ผู้ชายมักเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคเอดส์
3. ความประพฤติของผู้ชายทำให้โรคเอดส์ลดหรือเพิ่มได้
4. ผู้หญิงทำให้โรคเอดส์ลด แต่ผู้ชายทำให้โรคเอดส์เพิ่ม
ตอบ 3

จงอ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 60 - 61
คนไทยเรารู้ตัวว่าเป็นไทยก็เพราะมีเอกลักษณ์บางอย่างที่มีอยู่ในตัวซึ่งไม่เหมือนคนอื่น ๆ การ อพยพของคนไทยจากตอนเหนือสู่ตอนใต้นั้น จะต้องถือว่าเหมือนกับการไหลนองของน้ำ มิใช่เป็นการ บุกรุก คนไทยนั้นเปรียบได้กับน้ำ เมื่อไหลมาถึงที่ซึ่งเป็นช่องแคบก็สามารถบีบตัวให้ไหลผ่านช่องแคบ ไปได้ และเมื่อไหลมาถึงลุ่มน้ำอันกว้างขวางก็สามารถที่จะแผ่ขยายออกไปจนเต็มลุ่มน้ำอันกว้างขวางนั้น ได้ เมื่อฟ้าเป็นสีใด น้ำก็สะท้อนเป็นสีของฟ้านั้น แต่ถ้าตักน้ำมาดูแล้วก็จะเห็นน้ำเป็นสีน้ำ ไม่ได้มีสีอะไรทั้งสิ้น ยังคงมีลักษณะของความเป็นน้ำ และนี่คือเอกลักษณ์ของคนไทย
60. ข้อความนี้เปรียบคนไทยกับลักษณะของน้ำในข้อใด
1. น้ำไหลจากที่สูงมาสู่ที่ต่ำ
2. น้ำไหลซอกซอนไปตามที่ต่าง ๆ
3. น้ำเปลี่ยนรูปร่างไปตามภาชนะ
4. น้ำเปลี่ยนสีไปได้แล้วแต่สภาพแวดล้อม
ตอบ 4 เพราะเค้าเน้นที่ การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม
 
61. ข้อใดเป็นสารสำคัญที่สุดของข้อความนี้
1. คนไทยชอบการเปลี่ยนแปลง
2. คนไทยยอมรับผู้อื่นที่แตกต่างไปจากตน
3. คนไทยเป็นคนแปลกไม่เหมือนคนอื่น
4. คนไทยไม่รุกรานผู้อื่น
ตอบ 2 ข้อ 2 ก็คือ คนไทยปรับตัวเก่งนั่นเอง
 
ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 62 - 64
1. สังคมซึ่งยึดหลักธรรมของเสรีภาพเป็นสังคมเปิด
2. เป็นสังคมที่เปิดให้มนุษย์มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน เป็นตัวของตัวเอง
3. สามารถแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคมได้ โดยไม่มีข้อกำหนดขีดคั่นไว้
4. จุดสำคัญของเสรีภาพ และลัทธิประชาธิปไตยจึงอยู่ที่ข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์ควรมีโอกาสเป็นตนของตนเองเท่าเทียมกัน
5. มีความคิดเห็นและแสดงความคิดเห็นนั้น ๆ ออกมาได้โดยเสรีภาพเท่าเทียมกัน
62. ข้อความส่วนใดเป็นข้อสรุปของข้อความทั้งหมด
1. ส่วนที่ 2 - 5
2. ส่วนที่ 3 - 5
3. ส่วนที่ 4 - 5
4. ส่วนที่ 5
ตอบ 3 สังเกตจากจึง
 
63. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ สังคมเปิด
1. เปิดโอกาสให้ทุกคนเป็นตัวของตัวเอง
2. เปิดโอกาสให้ทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน
3. เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้โดยเสรี
4. เปิดโอกาสให้ทุกคนเรียนรู้เหตุการณ์และกระทำการได้โดยเสรี
ตอบ 4 ผิดตรงกระทำการได้โดยเสรี

64. เพราะเหตุใดเสรีภาพจึงถือเป็นหลักธรรมของสังคม
1. เพราะค่านิยมของคนในสังคมเคารพบูชาเสรีภาพ
2. เพราะความเชื่อว่าสังคมจะอยู่ไม่ได้ ถ้าขาดเสรีภาพ
3. เพราะความเชื่อว่าเสรีภาพทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม
4. เพราะความเชื่อว่าเสรีภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ตอบ 3 
 
65. ข้อใดใช้ภาพพจน์ต่างกับข้ออื่น
1. ขอให้ฉันได้เก็บเกี่ยวเหงื่อที่ฉันหว่านลงไปบนมัน
2. แต่มันก็เป็นแม่บังเกิดเกล้าของฉัน ฉันเป็นลูกของธรณีผืนนี้
3. แต่เจ้าแม่พิรุณก็มิได้สงสาร แม้เพียงจะหลั่งน้ำตาลงมาเวทนามันสักหยด
4. ไม่ปรากฏว่าฟ้าจะมีเมฆตั้งเค้าให้ชื่นใจ ที่นาหายใจคล้ายคนร่อแร่จวนจะตาย
ตอบ 1 ข้อ 1 ใช้นามนัย ตรงหยาดเหงื่อ
ข้อ 2 ใช้บุคลาวัต ตรงลูกของธรณี
ข้อ 3 ใช้บุคลาวัต ตรงเจ้าแม่พิรุณ
ข้อ 4 ใช้บุคลาวัต ตรงที่นาหายใจ
 
ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 66 - 69
ก. ฉันเยาว์ฉันเขลาฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย
ฉันหวังเก็บอะไรไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว

ข. พระแม่เป็นดวงใจไทยทั้งชาติ เพ็ญพิลาสเลอโฉมบรรโลมสง่า
เป็นมิ่งขวัญร่มเกล้าชาวประชา คู่บุญญาธำรงวงศ์จักรี

ค. ห้วยสะท้อนสะท้อนใจได้มาถึง นั่งรำพึงรำพันหวั่นสับสน
จะลืมเราหรือเปล่าหนอท้อกมล ขอสะท้อนผลกรรมดีที่เคยทำ

ง. อย่านะอย่าหวั่นไหวใจห้ามขาด ใจตวาดแล้วใยใจผวา
ตาร้องไห้ใจก็ตามไปห้ามตา สมน้ำหน้าหัวใจร้องไห้เอง

 
66. ข้อใดเล่นคำพ้อง
1. ข้อ ก.
2. ข้อ ข.
3. ข้อ ค.
4. ข้อ ง.
ตอบ 3 - ข้อ 3 เล่นคำพ้องตรงห้วยสะท้อน” “สะท้อนใจ

67. ข้อใดใช้การเขียนแบบอุปลักษณ์
1. ข้อ ก.
2. ข้อ ข.
3. ข้อ ค.
4. ข้อ ง.
ตอบ 2 - สังเกตจากพระแม่เป็นดวงใจ
 
68. ข้อใดใช้การแต่งแบบบุคคลสมมติ
1. ข้อ ก.
2. ข้อ ข.
3. ข้อ ค.
4. ข้อ ง.
ตอบ 4 - สังเกตจากใจก็ตามไปห้ามตา

69. ข้อใดเป็นแนวการเขียนแบบเพื่อชีวิตมากที่สุด
1. ข้อ ก.
2. ข้อ ข.
3. ข้อ ค.
4. ข้อ ง.
ตอบ 1 - งานเพื่อชีวิต คือ งานที่มุ่งหวังปรับปรุงสังคม

70. ด้วยความรู้นั้นเลิศประเสริฐสุด
เปรียบประดุจดังแควกระแสสินธุ์
จะวิดวักตักมาเป็นอาจินต์
ไม่รู้สิ้นแห้งขอดตลอดกาล

ข้อใดไม่ปรากฏในบทกวีนี้
1. อุปลักษณ์
2. คำความหมายใกล้เคียงกัน
3. อุปมา
4. สัมผัสใน
ตอบ 1 - “เป็นในวรรค 3 ไม่ได้มีความหมายเปรียบเทียบ จึงไม่ใช่อุปลักษณ์
 
71. ‘เราดีดีกว่าดวงดีเพราะดีนั้นมีที่เราดีกว่าที่ดวงทำดี นั่นแหละเราหน่วงเอาดีทั้งปวงมาทำให้ดวงมันดี
ถ้าแยกวรรคให้ถูกต้องแล้ว ข้อความนี้เป็นคำประพันธ์ประเภทใด
1. กาพย์ยานี
2. กาพย์ฉบัง
3. อินทรวิเชียรฉันท์
4. ร่ายยาว
ตอบ 2 - แยกวรรคได้ว่า
เราดีดีกว่าดวงดี เพราะดีนั้นมี ที่เราดีกว่าที่ดวง ทำดีนั่นแหละเราหน่วง เอาดีทั้งปวง มาทำให้ดวงมันดี

72. ข้อใดมีการใช้คำ โทโทษ
1. พระจักขุ่นจักข้อน จักแค้นคับทรวง
2. ตรึงอกพกตกขว้ำ อยู่เบื้องบนสาร
3. อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง เพ็ญแข
4. ถนัดดั่งพาหาเหี้ยน หั่นกลิ้งไกลองค์
ตอบ 2 - ข้อ 2 มีโทโทษตรงขว้ำ

73. ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์
1. ที่น้ำลึกเป็นห้วงพ่วงแพราย ทอดสายทุ่นถ่วงหน่วงรั้ง
2. ลมหวนครวญเสียงลม พาใจตรมตามลมครวญ
3. ฝ่ายชีเปลือยคนฮารุมด่าขรม เดินนุ่งลมห่มฟ้าน่าบัดสี
4. ความจนเป็นแรงให้แข็งสู้ หากชีพอยู่จะมิยอมค้อมหัวให้
ตอบ 1 - ข้อ 2 มีภาพพจน์ตรงลมหวน ลมครวญ
- ข้อ 3 มีภาพพจน์ตรงนุ่งลมห่มฟ้า
- ข้อ 4 มีภาพพจน์ตรงความจนเป็นแรง

74. ถ้ารักกันไม่ได้ก็ไม่รัก ไม่เห็นจักเกรงการณ์สถานไหน ไม่รักกูกูก็จักไม่รักใคร เอ๊ะ น้ำตากูไหลทำไมฤา
ลักษณะการเขียนอนุมานได้ว่าผู้เขียนรู้สึกอย่างไรมากที่สุด

1. ตัดสินใจไม่ได้
2. ตัดใจไม่ได้
3. ปลอบใจตนเอง
4. ปากกับใจไม่ตรงกัน
ตอบ 2

ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 75 และข้อ 76
1. กระเต็นกระตั้วตื่น แตกคน
2. กระจิบกระจาบปน แปลกเปล้า
3. กระสากระสังสน เสียดสัก สู่แฮ
4. กระรอกกระเรียนเข้า ย่องแหย้งอาหาร
 

75. คำประพันธ์บทนี้เด่นที่สุดในด้านใด
1. ภาพพจน์
2. สัมผัสพยัญชนะ
3. สัมผัสสระ
4. จังหวะ
ตอบ 2 สังเกตจากมีสัมผัสอักษรทุกบรรทัดเลย
 
76. คำประพันธ์บทนี้มีลักษณะที่ไม่ตรงตามผังฉันทลักษณ์มากที่สุดในเรื่องใด
1. คำเอก คำโท สลับที่กัน
2. ใช้คำเอกโทษ
3. ใช้คำโทโทษ
4. ใช้คำตายแทนคำเอก
ตอบ 4 ใช้คำตายแทนคำเอกถึง 5 แห่ง
 
77. ความในข้อใดใช้โวหารเปรียบเทียบต่างจากข้ออื่น
1. เมื่อแรกเชื่อว่าเนื้อทับทิมแท้ มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้
2. กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา
3. แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ ที่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
4
. เหล่าชายคือมวลภุมรา ใฝ่หาแต่มวลมาลี
ตอบ 2 - ข้อ 1 ใช้อุปลักษณ์ตรงเนื้อทับทิม
- ข้อ 3 ใช้อุปลักษณ์ตรงเป็นห้วงมหรรณพ
- ข้อ 4 ใช้อุปลักษณ์ตรงคือมวลภุมรา
- ข้อ 2 ใช้สัญลักษณ์ตรงกา………….หงส์
 
78. ใครจะไว้ใจอะไรก็ตามเถิด แต่อย่าเกิดไว้ใจในสิ่งห้า
หนึ่งอย่าไว้ใจทะเลทุกเวลา สองสัตว์เขี้ยวเล็บงาอย่าวางใจ
สามผู้ถืออาวุธสุดจักร้าย สี่ผู้หญิงทั้งหลายอย่ากรายใกล้
ห้ามหากษัตริย์ทรงฉัตรชัย ถ้าแม้นใครประมาทอาจตายเอย

เหตุผลสำคัญที่สุดที่ไม่ให้ไว้ใจสิ่งทั้งห้าที่กล่าวถึงในบทประพันธ์นี้คือข้อใด
1. ความโลเล
2. ความรุนแรง
3. ความแปรปรวน
4. ความมีอำนาจ
ตอบ 3 ความแปรปรวน = ไม่แน่นอน
 
79. ข้อใดเป็นลักษณะร่วมกันของมวยไทยและมวยสากล
ก. ฉับฉวยชกฉกช้ำ ฉุบฉับ
ข. โถมทุบทุ่มถองทับ ถีบท้าว
ค. เตะตีต่อยตุบตับ ตบตัก
ง. ขันต่อยตีพวกพื้น ม่านรู้ครูมวย

1. ข้อ ก. และ ค.
2. ข้อ ข. และ ค.
3. ข้อ ก. และ ง.
4. ข้อ ข. และ ง.
ตอบ 3 - มวยไทยและสากล มีลักษณะร่วมตรงกันคือ ชกเฉพาะมือห้ามใช้เท้าข้อ 3 จึงถูกต้อง
 
80. คำประพันธ์ต่อไปนี้มีความดีเด่นในเชิงวรรณศิลป์อย่างไร
1. ธ ก็ไสสองสารทรง ตรงเข้าถีบเข้าแทง ด้วยแรงมันแรงกาย
หงายงาเสยสารเศิก เพิกพังพ่ายบ่ายตน ปนปะไปไขว่คว้าง
ช้างศึกได้กลิ่นมัน หันหัวหกตกกระหม่า

2. เล่นเสียงสัมผัสอักษรและสัมผัสสระ
3. เล่นเสียงพยางค์และเสียงวรรณยุกต์
4. เล่นคำซ้ำและคำซ้อน
5. เล่นคำคู่และคำประสม
ตอบ 1
81. ข้อใดพรรณนาถึงสิ่งที่ต่างประเภทจากข้ออื่น
1. น้ำเงินคือเงินยวง ขาวพรายช่วงสีสำอาง
2. โนรีสีปานชาด เหมือนช่างฉลาดวาดแต้มลาย
3. สัตวาน่าเอ็นดู คอยหาคู่อยู่เอกา
4. สร้อยทองย่องเยื้องชาย หมายสายสวาทนาดนวยจร
ตอบ 1 - ข้อ 2, 3, 4 พูดถึงนก
- ข้อ 1 พูดถึงปลา
 
82. ข้อใดเป็นความแตกต่างชัดเจนของเรื่องนิราศพระบาทและนิราศลอนดอน
1. รูปแบบคำประพันธ์ที่ใช้
2. การรำพันถึงบุคคลอันเป็นที่รักในระหว่างการเดินทาง
3. พรรณนาถึงสถานที่และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้แต่งประสบ
4. สอดแทรกความรู้และความคิดเห็นของผู้แต่งไว้
ตอบ 2 - นิราศลอนดอนพูดถึงนางอันเป็นที่รักน้อยมาก
 
83. ธรรมดามหาสมุทร มีคราวหยุดพายุผัน
มีคราวสลาตัน ตั้งระลอกกระฉอกฉาน
คำประพันธ์นี้ให้แง่คิดเกี่ยวกับเรื่องใดในทางพุทธศาสนา

1. ไตรลักษณ์
2. เบญจขันธ์
3. อิทธิบาท
4. พรหมวิหาร
ตอบ 1 - “มีคราวหยุด มีคราวสลาตันคือ ไม่แน่นอน = อนิจจัง ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของกฎไตรลักษณ์
 
84. ถือตามคำโบราณท่านว่ามา ว่าว่ายน้ำเข้าหาจระเข้ใหญ่ ข้อความที่ขีดเส้นใต้ มีความหมายคล้ายคลึงกับสำนวนใดมากที่สุด
1. แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ
2. สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ
3. แกว่งเท้าหาเสี้ยน
4. ใจดีสู้เสือ
ตอบ 4 - ว่ายน้ำเข้าหาจระเข้ คือ ตัดสินใจเสี่ยงทั้ง ๆ ที่มีอันตรายจึงคล้ายกับใจดีสู้เสือมากที่สุด
 
85. คำประพันธ์ข้อใดไม่ใช่ความเชื่อในสังคมไทย
1. ปุโรหิตฟันไม่ข่มนาม ทำตามตำราพิชัยยุทธ์
2. เล่าความฝันมาประหม่ากลัว ว่าทูนหัวสุมไฟไว้ในมุ้ง
3. เห็นเพลิงพลุ่งรุ่งโรจน์โชตนา ก็แบหลาโจนเข้าในอัคคี
4. แล้วจะลุยเข้าไปในอัคคี ถ้าแม้นชั่วชีวีจงวายปราณ
ตอบ 3 - ข้อ 1 มีความเชื่อคือตัดไม้ข่มนาม
- ข้อ 2 มีความเชื่อคือความฝัน
- ข้อ 4 มีความเชื่อคือ การลุยไฟพิสูจน์ความบริสุทธิ์
86. ข้อใดสะท้อนค่านิยมบางประการของสังคมไทย
1. ถือตามคำโบราณท่านว่ามา ว่าว่ายน้ำเข้าหาจระเข้ใหญ่
ยากง่ายตายเป็นประการใด ให้เป็นไปตามกรรมที่ทำมา

2. เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล

3. สรุปแล้วแก้วธัญญ์พืชพันธุ์นี้ คุณภาพมีศรีปานอาหารสวรรค์
ในพรรษานาอุดมสมบูรณ์ธัญญ์ ควรแก่สรรเสริญกราวคือชาวนา

4. เมื่อจะเอาโทษทัณฑ์ฉันใด ก็ตามใจด้วยเรานี้เป็นข้า
ได้ถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา จะหลบลี้หนีหน้าไปทำไม

ตอบ 4 - ข้อ 4 มีค่านิยมการรักษาสัจจะ
 
87. ข้อใดไม่ตรงกับค่านิยมที่ว่าเป็นหญิงจะต้องรู้จักรักนวลสงวนตัว
1. ธรรมดาเกิดมาเป็นสตรี ชั่วดีคงได้คู่มาสู่สอง
มารดาย่อมอุตส่าห์ประคับประคอง หมายปองว่าจะปลูกให้เป็นเรือน

2. อันหนึ่งเราเขาก็ว่าเป็นผู้ดี มั่งมีแม่มิให้ลูกอายเพื่อน
จะด่วนร้อนก่อนแม่ทำแชเชือน ความอายจะกระเทือนถึงมารดา

3. ผู้ใดเกิดเป็นสตรีอันมีศักดิ์ บำรุงรักกายไว้ให้เป็นผล
สงวนงามตามระบอบให้ชอบกล จึงจะพ้นภัยพาลการนินทา

4. อันที่จริงหญิงชายย่อมหมายรัก มิใช่จักตัดทางที่สร้างสม
แม้นจักรักรักไว้ในอารมณ์ อย่ารักชมนอกหน้าเป็นราคี

ตอบ 4 - ข้อ 4 เป็นการสอนว่ารักอย่าแสดงออกนอกหน้าไม่ใช่ การรักนวลสงวนตัว
 
88. “พระอภัยอย่าได้หมายทำร้ายเขา จะสูญเผ่าพงศ์ชาติพระศาสนา
เป็นคู่สร้างนางละเวงวัณฬามา ถึงไตรดายุคแล้วไม่แคล้วกัน

ข้อใดสะท้อนความเชื่อที่ตรงกับคำประพันธ์ข้างต้น

1. พี่แบ่งบุญบรรพชิตอุทิศให้ เจ้าจงไปสู่สวรรค์ให้หรรษา
อันชาตินี้มีกรรมจำนิรา เมื่อชาติหน้าขอให้พบประสบกัน

2. อิเหนากับบุษบาโฉมยง เป็นวงศ์เทวากระยาหงัน
วาสนาเขาเคยคู่กัน ที่จะมิรักนั้นอย่าสงกา

3. อย่าว่าแต่เจ้ายากอยู่สิบห้า ถึงห้าชั่งพี่ก็หามาช่วยได้
บุญหลังได้สร้างมาปางใด เผอิญให้จำเพาะพบประสบนาง

4. เดชะบุญคุณพระมาปะพบ ไม่ต้องรบชิงช่วงดวงสมร
คงได้คู่สู่สมสยุมพร อย่าทุกข์ร้อนเลยพระองค์จงสำราญ

ตอบ 2 - ข้อความนี้สะท้อนว่าเนื้อคู่กับเรื่องของบุญของวาสนา ซึ่งตรงกับข้อ 2

89. ถึงพ่อแม่เราไซร้จะให้ทรัพย์
ก็สำหรับขาดเหลือช่วยเกื้อหนุน
ย่อมจะเป็นแต่ละเมื่อที่เจือจุน
ไม่เหมือนทุนทางวิชาจะหากิน

ข้อความนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรมากที่สุด
1. การดิ้นรนขวนขวายทำมาหากิน
2. ความกตัญญูต่อพ่อแม่
3. การอ่านออกเขียนได้
4. การศึกษาหาความรู้
ตอบ 4 - สังเกตจากไม่เหมือนทุนทางวิชาจะหากิน

ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 90 - 91
งามกงวงจักรรักต์แดงงามกำส่ำแสงงามดุมประดับเพชรพราย
90. ข้อความนี้นำมาจัดตามรูปแบบฉันทลักษณ์ที่ถูกต้องได้อย่างไร
1. งามกงวงจักร รักต์แดงงามกำ ส่ำแสงงามดุม ประดับเพชรพราย
2. งามกงวงจักรรักต์ แดงงาม กำส่ำ แสงงามดุมประดับ เพชรพราย
3. งามกงวงจักรรัตน์แดง งามกำส่ำแสง งามดุมประดับเพชรพราย
4. งามกงวงจักรรักต์ แดงงามกำส่ำแสง งามดุมประดับเพชรพราย
ตอบ 3 - ข้อความที่ยกมาเป็นฉันทลักษณ์แบบกาพย์ฉบัง 16”

91. คำประพันธ์บทนี้กล่าวถึงอะไร
1. ความงามของม้าทรง
2. ความงามของช้างทรง
3. ความงามของรถทรง
4. ความงามของบัลลังก์
ตอบ 3 - สังเกตจากกง” (วงล้อรถ)
 
92. ดูทำนองนางในไกวชิงช้า ดังสีดาผูกคอที่โรงโขน
เถาวัลย์เปราะเคราะห์ร้ายพอสายโยน ก็ขาดโหนลงในน้ำเสียงต้ำโครม
คำประพันธ์ข้างต้นนี้แสดงความรู้สึกของกวีในด้านใด
1. ขบขันแกมสงสาร
2. สมเพชแกมรำคาญ
3. หมั่นไส้แกมขบขัน
4. สงสารแกมหมั่นไส้
ตอบ 3 
 
93. ข้อใดให้ความรู้สึกสังเวชใจ
1. เสียงปืนที่ดังลั่น ตัวแม่นั้นต้องสิ้นใจ
2. ลูกน้อยที่กอดไว้ กระดอนไปเพราะแรงปืน
3. ฝืนใจเข้ากอดแม่ หวังจะแก้ให้แม่ฟื้น
4. แม่จ๋าเพราะเสียงปืน จึงไม่คืนชีวามา
ตอบ 3 - สังเวชใจ คือ น่าเศร้าใจ
 
94. ข้อใดแฝงความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจของกวีเอาไว้ชัดเจนที่สุด
1. ถ้ารักใครขอให้ได้คนนั้นด้วย บุญคงช่วยปฏิบัติอย่าขัดขวาง
อย่ารู้มีโรคาในสารพางค์ ทั้งรูปร่างขอให้ราวกับองค์อินทร์

2. พี่ตันอกตกยากจากสถาน เห็นอาหารหวนทอดใจใหญ่หือ
ค่อยขืนเคี้ยวข้าวคำสักกำมือ พอกลืนครือคอแค้นดังขวากคม

3. ทั้งหวายตรวนล้วนเครื่องที่ลำบาก ให้ปราศจากทั้งคนเขาข่มเหง
ครปองร้ายขอให้กายมันเป็นเอง ให้ครื้นเครงเกียรติยศปรากฏครัน

4. ได้เคืองแค้นแสนยากลำบากบอบ ไม่สมประกอบทรัพย์สินก็ขัดสน
แม้นกลับชาติเกิดใหม่เป็นกายคน ชื่อว่าจนแล้วจงจากกำจัดไกล

ตอบ 4 - เห็นจาก ได้เคืองแค้นแสนยากลำบากบอบ ไม่สมประกอบ - - -

95. ข้อใดใช้วิธีการแต่งโดยใช้คำความหมายขัดแย้ง
1. เพราะถิ่นนี้มีฟ้ากว้างกว่ากว้าง มีความมืดที่เวิ้งว้างสว่างไสว
2. สงสารใจ ใจเจ้าเอ๋ยไม่เคยนิ่ง วนและวิ่งคืนและวันหวั่นและไหว
3. ราตรีก็แม่นมี ขณะดีและร้ายปนไม่ผิดกะคน ๆ คุณโทษประโยชน์ถม
4. พบกันพลันยินดี น้ำตาปรี่เพราะปรีดา จากกันพลันโศกา น้ำตาไหลใจอาวรณ์
ตอบ 1 - สังเกตจากความมืดที่เวิ้งว้างสว่างไสว
 
96. ความที่ยกจากวารีดุริยางค์ที่ว่า ผีเสื้อสวยแต้มสีที่กลีบแก้มอาจตีความหมายได้หลายข้อ ยกเว้นข้อใด
1. ผีเสื้อสีสวยมาเกาะดอกไม้
2. ดอกไม้ที่มีสีสันราวกับผีเสื้อมาแต่งแต้ม
3. ผีเสื้อสีสวยราวกับสีที่แต้มแก้มสาว
4. ผีเสื้อสวยช่วยเพิ่มสีสันให้ดอกไม้
ตอบ 3

97. ข้อใดที่ผู้เขียนเจตนาจะให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกว่าโชคดีและภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย
1. ตื่นเถิดชาวไทย อย่ามัวหลับใหลลุ่มหลง
ชาติจะเรืองดำรง ก็เพราะเราทั้งหลาย

2. ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย
ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น

3. หากสยามพินาศลง เราอยู่ ได้ฤา
เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทย

4. เปิดม่านและมองเถิด จะเกิดความประโมทย์ใจ
เห็นแคว้น ณ แดนไทย ประเสริฐแสนดั่งแดนสรวง

ตอบ 4 - สังเกตจากแดนไทยประเสริฐแสนดั่งแดนสรวง

ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 98 - 99
ถ้าจะมีสองมือไว้ถือสาก อย่าอายหากปากจะดื้อว่าถือศีลและถ้ามีหัวใจไว้ป่ายปีน จงมีตีนไว้เพื่อจะกระทืบคน
98. หากความในคำประพันธ์บาทแรกเขียนขึ้นจากแรงบันดาลใจในสำนวนว่า มือถือสาก ปากถือศีลแล้วในบาทสองควรเป็นสำนวนใด
1. ปัดแข้งปัดขา
2. ถีบหัวส่ง
3. เหยียบจมธรณี
4. แกว่งตีนหาเสี้ยน
ตอบ 1 - ปัดแข้งปัดขา หมายถึง ขัดขวางด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายเจริญก้าวหน้าหรือได้ดีกว่า
 
99. เจตนาของผู้เขียนคือข้อใด
1. แนะนำการอยู่รอดในสังคม
2. ประชดคนบางจำพวกในสังคม
3. เสนอวิธีเอาตัวรอดจากคนบางจำพวกในสังคม
4. ระบายความขุ่นเคืองคนบางจำพวกในสังคม
ตอบ 2

100. เวลาค่ำเสด็จมาถึงวังมักตรงไปเฝ้าพระมารดาก่อน แล้วจึงเสวยและพักผ่อนสำราญพระทัย เช่น ทรงเล่นปี่พาทย์ ทรงพระนิพนธ์บทร้องเพลง ถึงเวลาสมควรเข้าห้องทรงพระอักษร ทรงทำงานในราชการแผ่นดินที่ค้างมา
ข้อความข้างต้นแสดงค่านิยมสังคมไทยที่สำคัญที่สุดตามข้อใด
1. ในการเล่นดนตรีไทย
2. ในการอุทิศตนให้แก่หน้าที่การงาน
3. ในการแสดงความเคารพและห่วงใยบุพการี
4. ในการแบ่งเวลาทำงานและพักผ่อนตามควร
ตอบ 3