วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ภาษาไทย ชุด2

ข้อที่ 1 ข้อใดมีคำสะกดผิด
1.      นวัตกรรมนำไทยให้ก้าวหน้า
2.      เชิญประชาปราณีตคิดสร้างสรรค์
3.      ให้โลกทึ่งหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
4.      อเนกอนันต์คุณค่าสินค้าไทย
ตอบ      ข้อ 2 เพราะ     เชิญประชาปราณีตคิดสร้างสรรค์    คำว่า "ปราณีต" ต้องเป็น "ประณีต" ถึงจะถูก


ข้อที่ 2 คำในข้อใดมีจำนวนพยางค์เท่ากัน
1.      บัตรพลี ชุกชี กักขฬะ
2.      พลขับ ชาติพันธุ์ นักษัตร
3.      จิตนิยม ซอมซ่อ ปราชัย
4.      ชนมายุ บราลี ผลผลิต
ตอบ   ข้อ 4



ข้อที่ 3 คำในข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อความหมายทุกคำ
1.      เกี่ยวข้อง นำพา อัดฉีด
2.      ว่าจ้าง สืบค้น โค่นล้ม
3.      ชักจูง แข็งแกร่ง ซ้อนเร้น
4.      กดขี่ จัดหา ขุ่นมัว
ตอบ      ข้อ 3



ข้อที่ 4 คำว่า "เอง" ในข้อใดทำหน้าที่ต่างจากข้ออื่น
1.      ป๋องหกล้มตกลงไปในคูเอง
2.      วิทย์ออกแบบและก่อสร้างตึกนี้เอง
3.      ฉันจะนำเอกสารนี้ไปให้เจ้านายเอง
4.      คนที่มาเปิดประตูรั้วคือเจ้าของบ้านเอง
ตอบ   ข้อ 4 เพราะแต่ละข้อ คำว่า "เอง" เป็นคำขยายตัวคนพูดแต่ ในข้อ 4 คำว่า "เอง" เป็นคำที่ไปขยายคนที่มาเปิดประตูรั้ว นั่นก็คือเจ้าของบ้านนั่นเอง


ข้อที่ 5 คำว่า "มา" ในข้อใดเป็นคำกริยา
1.      เขาแก้ปัญหามาตลอดปี
2.      เขาเห็นรถมาตอนบ่าย
3.      เขาสืบข่าวมาหลายวัน
4.      เขาเอาจดหมายมาเมื่อวาน
ตอบ     ข้อ 2 เพราะ คำว่า "เห็นรถมา" เป็นคำกริยา
ส่วนข้ออื่น
1.แก้ปัญหามา = อาการนาม
3.สืบข่าวมา = อาการนาม
4.จดหมายมา = นามทั่วไป


ข้อที่ 6 คำว่า "กับ" ในข้อใดทำหน้าที่ต่างจากข้ออื่น
1.      ศักดิ์กำลังเล่นตะกร้อกับเพื่อนๆ
2.      สุดามีความสุขกับการปลูกต้นไม้
3.      เดชไปต่างประเทศกับทีมงาน
4.      วิภาดูแลนักเรียนกับสุนัข
ตอบ   ข้อ 4 เพราะ ประโยคที่ว่า "วิภาดูแลนักเรียนกับสุนัข" = วิภาดูแล น.ร กับสุนัข /สุนัขไม่ได้ดูแลด้วย
ส่วนแต่ละข้อที่เหลือ นั้นเป็นอาการนาม ที่ไปขยาย ร่วมกับกรรมทั้งนั้น
เช่น       1.ศักดิ์กำลังเล่นตะกร้อกับเพื่อนๆ /เพื่อนๆเขาเล่นด้วย
            2.สุดามีความสุขกับการปลูกต้นไม้

            3.เดชไปต่างประเทศกับทีมงาน /ทีมงานไปเที่ยวด้วย


การใช้คำราชาศัพท์


*  ใช้ ทรง นำหน้ากริยาธรรมดา เพื่อทำให้คำกริยาธรรมดากลายมาเป็นคำกริยาราชาศัพท์ สำหรับ พระราชา และเจ้านาย เช่น ทรงยินดี, ทรงขว้าง , ทรงวาง , ทรงวิ่ง , ทรงยิง ,ทรงกรุณา , ทรงสามารถ ,ทรงกล่าว , ทรงอธิบาย , ทรงรับ , ทรงกระแอม , ทรงชุบเลี้ยง , ทรงฟัง.


*  ใช้ ทรง เป็นสกรรมกริยา นำหน้านามธรรมดาคือนำหน้าคำนามที่ไม่เป็นคำราชาศัพท์สำหรับพระราชาและเจ้านายมีความหมายได้หลายประการตามแต่นามอันเป็นกรรมจะบ่งถึง เช่น ทรงศีล (รับศีล) , ทรงบาตร (ตักบาตร) , ทรงธรรม (ฟังเทศน์) , ทรงม้า (ขี่ม้า) , ทรงรถ , ทรงปืน , ทรงสกี , ทรงดนตรี , ทรงเบ็ด , ทรงกีฬา , ทรงตะกร้อ ,ทรงศร


* ห้ามใช้ ทรง นำหน้าคำกริยาราชาศัพท์ เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมคำว่าทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก ได้แก่คำต่อไปนี้ ตรัส , ดำรัส ประทับ (อยู่ , ยืน ,นั่ง) เสด็จ (ไป) สรง , สรงน้ำ กริ้ว เสวย โปรด ( รัก ,ชอบ ) ประชวร บรรทม รับสั่ง สุบิน ทอดพระเนตร (ยกเว้นคำเดียวคือ ทรงผนวช เพราะนิยมใช้กันมาอย่างนี้)


1. หมวดร่างกาย
หน้าผาก = พระนลาฎ                                            แก้ม = พระปราง
ตา = พระเนตร                                                      นิ้วหัวแม่มือ = พระอังคุฐ
จมูก = พระนาสิก                                                   นิ้วชี้ = พระดัชนี
ปาก = พระโอษฐ์                                                   นิ้วกลาง = พระมัชฌิมา
ฟัน = พระทนต์                                                      นิ้วนาง = พระอนามิกา
เขี้ยว = พระทาฐะ                                                  นิ้วก้อย = พระกนิษฐา
ลิ้น = พระชิวหา                                                     เล็บ = พระนขา
หู = พระกรรณ                                                       รักแร้ = พระกัจฉะ
ไหปลาร้า = พระรากขวัญ                                        ท้อง = พระอุทร
บ่า = พระอังสะ                                                     สะดือ = พระนาภี
มือ = พระหัตถ์                                                      สีข้าง = พระปรัศว์
หลัง = พระปฤษฎางค์                                            ตะโพก = พระโสณี
ตัก = พระเพลา                                                     เข่า = พระชานุ
เท้าทั้งคู่ = พระยุคลบาท                                         ไต = พระวักกะ
ตับ = พระยกนะ                                                    ปอด = พระปับผาสะ


2. หมวดเครื่องอุปโภค บริโภค
ตรา = พระราชลัญจกร                                            กระโถนใหญ่ = พระสุพรรณราช
พานหมาก = พานพระศรี                                        กระโถนเล็ก = พระสุพรรณศรี
หมวก = พระมาลา                                                 แว่นตา = ฉลองพระเนตร
ร่ม = พระกลด                                                       มีดโกน = พระแสงกรรบิด
ช้อน = ฉลองพระหัตถ์ช้อน                                      น้ำหอม = พระสุคนธ์
ข้าว = พระกระยาเสวย                                            ยาถ่าย = พระโอสถประจุ
เหล้า = น้ำจัณฑ์                                                    หม้อน้ำ = พระเต้า
ม่าน = พระวิสุตร                                                   ประตู = พระทวาร
ปิ่น = พระจุฑามณี                                                 ปืน = พระแสงปืน


3. หมวดขัตติยตระกูล
ปู่ , ตา = พระอัยกา                                                ย่า ยาย = พระอัยกี
ลุง (พี่ของพ่อ) = พระปิตุลา                                     ป้า (พี่ของพ่อ) = พระปิตุจฉา
ลุง (พี่ของแม่) = พระมาตุลา                                   ป้า (พี่ของแม่) = พระมาตุจฉา
อาชาย = พระปิตุลา                                               อาหญิง = พระปิตุจฉา
พ่อ = พระชนก                                                       แม่ = พระชนน
บุตรชาย = พระโอรส                                               บุตรสาว = พระธิดา
หลาน = พระนัดดา                                                เหลน = พระนัดดา
สามี = พระสวามี                                                   ภรรยา = พระมเหสี
พ่อตา = พระสัสสุระ                                               แม่ยาย = พระสัสสุ
ลูกเขย = พระชามาดา                                            ลูกสะใภ้ = พระสุณิสา


4. หมวดกริยา
ไป = เสด็จพระราชดำเนิน                                        กิน = เสวย
นอน = บรรทม                                                       สบาย = ทรงพระสำราญ
ป่วย = ทรงพระประชวร                                           ตัดผม = ทรงเครื่องใหญ่
อ่านหนังสือ = ทรงพระอักษร                                 ดู = ทอดพระเนตร
รัก = โปรด                                                             หัวเราะ = ทรงพระสรวล
กั้นร่มให้ = อยู่งานพระกลด                                     ให้ = พระราชทาน
 

5. หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์
เชิญ = นิมนต์                                                        ไหว้ = นมัสการ
กิน = ฉัน                                                               นอน = จำวัด
สวดมนต์ = ทำวัตร                                                 โกนผม = ปลงผม
อาบน้ำ = สรงน้ำ                                                    ขอโทษ = ขออภัย
บิดา , มารดา = โยม                                               ผู้หญิง = สีมา
ปวย = อาพาธ                                                       ตาย = ถึงแก่มรณภพ
ยา = โอสถ                                                            เรือน , ที่พัก = กุ ฎิ
บวช = บรรพชา                                                      นักบวช = บรรพชิต
 


     ความหมายของคำหรือกลุ่มคำที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้โดยทั่วไปมีความหมาย2อย่างคือความหมายโดยตรง
และความหมายโดยนัย
     ความหมายโดยตรง คือ คำแปลหรือคำจำกัดความที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรมเป็นความหมายตรงตัวเลย เช่นคำว่า "เผา" ก็หมายถึง เอาไฟจุด เป็นต้น
     ความหมายโดยนัย คือคำที่มีความหมายที่ไม่ตรงับความหมายดั้งเดิม เช่น "แดดเผา" แปลว่าทำให้เร่าร้อน , "เผาขน" แปลว่า ระยะประชั้นชิด เป็นต้น


 ***ลักษณะข้อสอบ***จะออกมาเพื่อให้เลือกตอบคำถามที่มีความหมายตรงกับคำขีดเส้นใต้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. เด็กเกเรจนพ่อแม่ต้องบอกศาลา
ก. กล่าวโทษ            ข. กล่าวตักเตือน
ค. นำไปไว้ที่ศาลา     ง. เลิกเอาใจใส่
ตอบ ง.


2. เขาทั้งสองรักกันอย่างดูดดื่ม
ก. ซาบซึ้ง                ข. ชุ่มชื่น
ค. ละมุนละไม          ค. อ่อนหวาน

ตอบ ก.


3. เธออย่าทำอะไรบุ่มบ่ามน่ะ
ก. หลงไหล             ข. คลั่งไค้ล
ค. ผลีผลาม           ง. ไม่มีเหตุผล

ตอบ ค.



การเลือกใช้คำหรือกกลุ่มคำ คือการหาคำหรือกลุ่มคำมาเติมลงในช่องว่างที่เว้นไว้ เพื่อให้ความหมายนั้นสอดคล้องกับเรื่องหรือเพื่อให้เรื่องมีความหมายที่ชัดเจน ไม่กำกวม หรือไม่ให้ความหมายของเรื่องเป็นอย่างอื่น


ตัวอย่างข้อสอบ
1. พิธีการสมโภชกรุงรัตนโสินทร์ 200 ปี ในเดือนเมษายน ศกนี้ จะมีการ....ให้ประชาชนได้เห็นทั่วประเทศ
ก. ถ่ายเทป                         ข. ถ่ายทอด
ค. ส่งทอด                          ง. ถอดถ่าย

คำตอบ ข.


2. พระพุทธเจ้ามิได้ทรงมีพระประสงค์จะสอน ปรัชญา โดยตรง แต่ทว่าสอน.....เฉพาะที่ทรงเล็งเห็นว่าจะมี....ต่อการพ้นทุกข์เท่านั้น
ก. วิปัสสนา,โอกาส             ข. ปรัชญา,ประโยชน์
ข. แก้ปัญหา,ประโยชน์        ง. คนทั่วไป,โอกาส

ตอบ ข.


3. เราควรจะ...ได้ว่า เรามีขุมควมคิดที่ประมาณค่ามิได้...อยู่ในพระไตรปิฎก
ก. ดีใจ,ช้อน                     ข. ดีใจ,บรรจุ
ค. ภูมิใจ,ซ่อน                   ง. ภูมิใจ,บรรจุ

ตอบ ง.




4.แต่....ล้ำค่านี้ดูเหมือนจะมีสภาพเช่นเดียวกับ....ธรรมชาติของประเทศเรานั่นเอง
ก. ขุมความคิด,ขุมทรัพย์     ข. สมบัติ,ขุมทรัพย์
ค. ขุมทัพย์,ทรัพยากร         ง. ขุมทรัพย์,สมบัติ

ตอบ ค.




5. คือพวกเราได้รับผลประโยชน์กันเพียง....เราขาดเครื่องมือ และผู้เชี่ยวชาญ สำหรับ....เอาทรัพยากรที่เรามีอยู่ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ เพื่อความเจริญของประเทศ
ก. เล็กน้อย,ขุดคุ้ย               ข. เล็กน้อย,ขุดค้น
ค. ผิวเผิน,ช่วยไม่ได้            ง. ผิวเผิน,ขุดคุ้ย

ตอบ ข.




การเขียน  คือ การแสดงความรู้/ความคิด/ความรู้สึกและความต้องการของผู้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ผู้รับสามารถอ่านเข้าใจได้ รับทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการเหล่านั้น


***ข้อสอบการเขียนจะทดสอบในเรื่องการเรียงความและการเขียนประโยคตามหลักภาษาโดยจะกำหนดข้อความ/ประโยคหรือบทความแล้วให้ตอบคำถามโดยเลือกข้อความที่กำหนดให้ซึ่งเป็นข้อความที่ถูกต้องตามหลักภาษาหรือใส่เครื่องหมายเลขกำกับหัวข้อแล้วให้เรียงเลขที่กำกับมาให้ถูกต้อง***

การเรียงความ     หลักในการทำข้อสอบ ควรพิจารณาดังต่อไปนี้คือ


หลักการพิจารณาข้อความ
1.ความหมายของคำ ในความหมายอย่างเดียวกันต้องเลือกดูคำที่มีความหมายแจ่มแจ้งที่สุด เช่นคำว่า "สวย" กับ "งาม" มีความหมายใก้ลเคียงกัน คำว่า "งาม" น่าจะเหมาะกับประโยค ที่สอื่ความหมายถึงการมีจิตใจดีและมีคุณธรรม ส่วนคำว่า "สวย" หมายถึงรูปร่างหน้าตาภายนอก ซึ่งคำว่า "งาม" จะมีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจกว่า เป็นต้น
2.การประหยัดคำ เราต้องใช้คำให้ถูกที่และเหมาะสมกับฐานะบุคคลปัจจุบันมักจะใช้คำผิดๆ ส่วนมากป็นคำราชาศัพท์หรือศัพท์ที่ใช้มานานแล้ว เช่น คำว่า "มหาศาล" นั้นแต่ก่อนใช้แต่กับ พระมหากษัตริย์ และพราหมณ์ แต่ปัจจุบันยังนำมาใช้แม้แต่ลุ่มโจร
3. หลักความใก้ลชิด ต้องวางคำขยายให้ถุกต้องตามตำแหน่งหน้าที่มิเช่นนั้นจะทำให้ความหมายกำกวม เช่น ไหมเป็นสินค้าสำคัญซึ่งได้มาจากตัวหนอนเล็กๆ ประโยคนี้ควรแก้เป็น ไหมซึ่งได้มาจากหนอนตัวเล็กๆเป็นสินค้าสำคัญ
4. ฐานแห่งน้ำหนัก ประโยคหนึ่งๆถ้าแบ่งเป็น 3 ตอน ใจความสำคัญมักจะอยู่ตอนท้าย รองลงมาเป็นต้นประโยค ส่วนกลางประโยคจะมีความสำคัญมากที่สุด


 เช่น
                        ยกมืขึ้นไม่เช่นนั้นจะตาย
                        ชนชาวไทยร่วมชาติขิงข้าพเจ้าทั้งหลายจงตื่นเถิด


5. เหตุผล ต้องพิจารณาจากหลักเหตุผลถ้าข้อความใดผิดหลักความเป็นจริงก็ใช้ไม่ได้ เช่น ประโยคที่ว่า เด็กคนนั้นเก่งจังเลยแค่ 5-6 เดือนก็วิ่งได้แล้ว ซึ่งเป็นไปไม่ได้
6.ไวยากรณ์หรือหลักของภาษา  เราต้องดูว่าคำที่ใช้ถูกต้องและมีความหมายกลมกลืนในประโยคหรือไม่ เช่น      
คำว่า "สมควร" ควรเชื่อมกับคำว่า "แก่" เช่นประโยคต่อไปนี้
"เขาจะต้องทดลองปฎิบัติราชการจนหัวหน้าเห็นว่าเขามีความสามารถ สมควรแก่ ตำแหน่ง"
"สมเด็จพระบรมพิตรพพระราชสมภารเจ้าตั้งพระราชหฤทัยทรงพระราชวิจารณ์ราชกิจดดยสมควรแก่ประเทศชาติ โดย สมควรแก่ กาลสมัย

คำว่า "สม" ควรเชื่อมกับคำว่า "กับ" ดังนี้
"เปรียบสตรีมีกุลชาติ มารยาทน่าชม สมกับ หญิง"
"ท่านต้งปฎิบัติหน้าที่ให้ สมกับ เป็นครู"

คำปฎิเสธซ้อนกันไม่ควรใช้มิเช่นนั้นจะกลายเป็นคำบอกรับไป เช่น
"ห้ามไม่ให้เก็บดกไม้" กลายเป็น "ให้เก็บดอกไม้ได้"
"มิใช่ลำเอียงก็เปล่า" กลายเป็น "ลำเอียง"

7. การใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามความนิยม   ต้องดูตามความเหมาะสม 
ประโยคที่ใช้ตามภาษาอังกฤษ  ไม่ควรใช้ เช่นคำว่า "จับหวัด" เพราะภาษาไทยใช้ว่าว่า "เป็นหวัด"
ประโยคที่มีคำภาษาบาลี   เช่นคำว่า "อันว่าข้าพเจ้านี้มีความทุกข์" ก็ไม่ควรใช้เพราะคำว่า "อันว่า" ไม่เป็นที่นิยมและบรรยายเป็นตัวอักษรไม่ได้
ประโยคว่า "ฉันจะไปตัดเสื้อ" ควรใช้ "ฉันจะไปให้ช่างตัดเสื้อ"
ประโยคว่า "ฉันจะไปตัดผม" ควรใช้ "ฉันจะไปให้ช่างตัดผม" แต่ประโยค "เขาตัดผมของฉันและแต่งให้เรียบร้อย" ก็ไม่ควรใช้เพราะยาวไปไม่เป็นที่นิยม


หลักการเรียงความ (ในการสอบ)
การจัดเรียงข้อความที่วางไว้ผิดที่ ผิดความหมาย ให้ได้ใจความชัดเจนนั้น ในข้อสอบจะวางข้อความกลับกันไปมาอ่านแล้วไม่ได้ใจความชัดเจนจึงต้องเรียบเรียงข้อความใหม่เพื่อให้อ่านได้ความ มีหลักในการเรียงข้อความดังนี้
1.ข้อความที่กำหนดให้ส่วนใหญ่ข้อความนั้นจะเป็นตอนๆให้ผู้สอบอ่านข้อความที่กำหนไว้ในข้อสอบตั้งแต่ต้นจนจบทุกข้อความ แยกเอกรรถประโยคอเนกถรรถประโยคและสังกรประโยคแล้วกำหนดว่าข้อความใดควรจะอยู่ก่อนอยู่หลังโดยจัดเรียงตามลำดับควมแล้วใส่หมายเลขกำกับลงบนข้อความนั้นๆ เรียงตามลำดับไปจนจบข้อความ
2.จัดประโยคโดยเรียบเรียงตามลำดับข้อความให้ได้ใจความดีและเป็นภาษาที่สละสลวย
3.อ่านข้อความที่ได้จัดเรียงลำดับตามหมายเลขแล้วว่าได้ความชัดเจนหรือยัง ถ้ายังไม่ชัดเจนก็เรียบเรียงข้อความใหม่จนกว่าจะได้ความชัดเจน
4.เมื่อได้ลำดับหมายเลขและใจความชัดเจนดีแล้วจึงเขียนข้อความเรียงลำดับหมายเลขลงในระดาษคำตอบ
***ในการเรียงข้อความนี้ ผู้เข้าสอบจะต้องฝึกหัดทำบ่อยๆเพื่อให้เกิดความชำนาญ และต้องฝึกอ่านจดจำข้อความที่ใช้ภาษาได้ถูกต้องจะช่วยให้ทำข้อสอบได้รวดเร็ว ถูกต้องและดีขึ้นใช้เวลาในการทำข้อสอบน้อยลง
***ในการสอบเนื่องจากเวลามีจำกัดเมื่ออ่านข้อความที่กำหนดให้แล้วมีความเห็นว่าจะเรียงลำดับให้อ่านได้ใจความยาก และไม่แน่ใจว่าจะถูกต้องหรือไม่ขอแนะนำว่าควรจะทำข้อสอบข้ออื่นที่ทำได้ก่อนเสร็จแล้วจึงกลับมาเรียบเรียงใหม่

         ประโยค คือกลุ่มคำที่กี่ยวข้องกันเป็นระเบียบและมีเนื้อความครบบริบูรณ์ประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดงส่วนต่างๆ  ของประโยค ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. ภาคประธาน ประกอบด้วย บทประธานและบทขยายประธาน
2. ภาคแสดง ประกอบด้วย บทกริยา บทขยายกริยา บทกรรม บทขยายกรรม

รูปประโยค มีอยู่ 5 รูป  คือ

1. ประโยคกรรตุ  คือ  ประโยคที่กล่าวตรงไปตรงมา คือมีการเรียงประธาน+กริยา และกรรม ตามลำดับ เช่น สุนัขกัดแมว
2. ประโยคกรรม   คือ  ประโยคที่เอากรรมของกริยามาเป็นประธาน โดยวางไว้หน้าประโยค เพื่อเน้นกรรม เช่น แมวถูกสุนัขกัด
3.ประโยคกริยา  คือ  ประโยคที่เอาคำกริยามาไว้หน้าประโยคเพื่อเน้นคำกริยานั้นๆ เกิดการปฎิวัติขึ้น,มีนักเรียน 20 คนในชั้นนี้
4. ประโยคการิต  คือ   ประโยคกรรตุ หรือประโยคกรรม แต่มีผู้รับแทรกเข้ามา เช่น เขาบังคับให้คนใช้ทำงานหนัก,ครูให้นักเรียนทำงานหนัก
5.ประโยคกริยาสภาวมาลา  คือ  ประโยคที่เอาคำกริยาสภาวมาลาเป็นบทประธาน (กริยาสภาวมาลา คือกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายกับนาม) หรือบทขยายประธาน บทกรรม หรือบทขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคก็ได้ เช่น ออกกำลังกายทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง,พูดดีเป็นศรีศักดิ์

3. ความเข้าใจภาษา


          การทำความเข้าใจภาษาเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวนั้น ควรอ่านเรื่องหรือบทความให้ตลอดเรื่องอย่างช้าๆเพื่อให้ทราบความหมายหรือความคิดที่สำคัญของเรื่องเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วน เมื่อเข้าใจเรื่องราวแล้วก็จะสามารถแยกได้ว่าข้อความใดสำคัญมาก ข้อความใดสำคัญน้อย จุดประสงค์ของเนื้อเรื่องหรือบทความ คืออะไรอยู่ที่ใด และต้องการอะไร หรือให้ทำอะไร เมื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีแล้ว จึงเรียงลำดับความสำคัญมากหรือน้อย เพื่อนำไปตอบคำถาม ให้ตรงกับจุดมุ่งหมายตามที่กำหนดให้
          ความเข้าใจภาษาเข้าใจเรื่องราวต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเวลาอันรวดเร็วซึ่งต้องอาศัยพื้นฐาน คือสมาธิในการอ่าน การทำความเข้าใจ ถึงจุดมุ่งหมายและควรมีความรู้ ความชำนาญในเรื่องถ้อยคำและสำนวนเป็นอย่างดี จึงจะนำมาใช้ในการทดสอบได้


การสรุปความและการจับใจความ
           การอ่านเพื่อสรุปความและจับใจความ ควรอ่านไปให้ตลอดเรื่องแต่อย่าเพิ่งสรุป เมื่อ่านจบเรื่องแล้วจะต้องจับใจความให้ได้ดังต่อไปนี้
1. ต้องหาใจความสำคัญของเรื่องให้ได้    ใจความสำคัญ จะปรากฎอยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง หรือย่อหน้าใดย่อหน้าหนึ่ง ส่วนข้อความอื่นจะเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนขยายใจความสำคัญ แต่ก็ไม่แน่เสมอไป บางครั้งประโยคที่เป็นใจความสำคัญ อาจจะอยู่ ตอนต้น หรือตอนท้ายของเรื่องก็ได้
2. เนื้อเรื่องและส่วนประกอบหลัก ที่จะนำมาขยายความสำคัญโดยตรง และส่วนประกอบย่อยอื่นๆ จะเป็นส่วนขยายความให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นคือ
- ทำให้ทราบใจความสำคัญว่าส่วนประกอบมีอะไรบ้าง
- มีความต่อเนื่องกันมาอย่างไร
- ขยายความเข้าใจได้ชัดเจน
- สรุปใจความได้ 


เมื่อพิจารณาได้ดังนี้แล้ว จึงนำความเข้าใจ จากการอ่านมาสรุปเนื้อความ บทความหรือเรื่องราวที่อ่าน
เพื่อนำมาจับใจความให้ได้ว่า ใคร? ทำอะไร? ที่ไหน? เมื่อไหร่? อย่างไร? เมื่อจับใจความและเข้าใจได้ดังนี้แล้ว จึงจะนำความเข้าใจไปตอบคำถามที่กำหนดให้


          การวิเคราะห์เนื้อหา และการตอบคำถาม ต้องพิจารณาถึงการใช้ถ้อยคำสำนวนว่าเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด นกจากนั้นควรพิจารณาว่า ผู้อ่านมีความคิดแทร และมีความคิดเสริมอันสืบเนื่องจากเรื่องที่อ่านอย่างไร
ความคิดแทรก หมายถึง ความคิดที่เกิดขึ้นในสมองของผู้อ่านขณะวิเคราะห์ เป้นความคิดที่เกิดขึ้นเอง โดยมิได้ปรากฎในเรื่องที่อ่าน
ความคิดเสริม หมายถึง ความคิดที่เกิดขึ้นกับผู้อ่านหลังจาที่อ่านจบและวิเคราะห์ บทความหรือข้อความนั้นเสร็จสิ้นไป ความคิดเสริมอาจเป็นความคิดที่ต่างเรื่อง ต่างประเด็น ไปจากเรื่องที่อ่าน แต่จะมีความเกี่ยวเนื่องกัน มากหรือน้อยแล้วแต่บุคคลและโอกาส
การอ่านเพื่อวิเคราะห์ หมายถึง การแยกออกเป็นส่วนๆเพื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อแสวงหาสาระที่อยู่ในข้อความ บทความเนื้อหาที่อ่านนั้น
เวลาอ่านเพื่อวิเคราะห์ต้องพยายามหาคำตอบว่า ข้อความ บทความ เนื้อเรื่องนั้นให้ความรู้อะไรบ้าง ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นอะไรให้ทราบบ้าง ขณะที่เขียนมีความรู้สึกอย่างไร พฤติกรรมเหล่านี้ผู้อ่านควรจะวิเคราะห์ได้
หลักการวิเคราะห์
1. พิจารณาว่าเรื่องนั้นใช้รูปแบบใด เช่น เป็นนิทาน เป็นเรื่องยาว เป็นร้อยกรอง เป็นบทละคร เรื่องสั้น บทความ
2. แยกเนื้อเรื่องให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร
3. แยกพิจารณาให้ละเอียดว่า เนื้อหาประกอบด้วยอะไรบ้าง
4. พิจารณาว่าใช้กลวิธีในการนำเสนอเรื่องอย่างไร
5. ลำดับเหตุการณ์ ตามเหตุผลคือ ลำดับจาเหตุไปหาผล หรือจากผลไปหาเหตุ หรือตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลัง ความสำคัญมากไปหาความสำคัญน้อย สิ่งที่ใก้ลตัวไปหาไกลตัวจากขวาไปซ้ายหรือซ้ายไปขวา จากเหนือไปใต้หรือใต้ไปเหนือ จากสถานที่ใหญ่ไปหาสถานที่เล็กจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย เป็นต้น
6. พิจารณาความคิดที่ผู้เขียนต้องสื่อให้ผู้อ่านทราบและความหมายที่แฝงอยู่ในเนื้อเรื่องหรือข้อความนั้น เมื่ออ่านพิจารณาข้อความ บทความ เนื้อเรื่อง เสร็จแล้วจึงตอบคำถาม ข้อควรระวังคือ คำตอบที่ให้เลือกนั้นจะคล้ายคลึงกันมาก บางครั้งดูเหมือนว่าคำตอบเป็นคำตอบที่ถูกต้องทุกข้อ จึงต้องใช้วิจารณญาณ เลือกคำตอบที่ถูกที่สุด
 


การอ่านตีความ
            การตีความ คือการอ่านเพื่อให้ทราบความหมาย หรือความคิดที่สำคัญของเรื่องการตีความมักเป็นไปตามประสบการณ์ และความรู้สึกของแต่ละคน ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องตีความตรงกันเสมอไป
            การตีความควรประเมินค่าและบอกได้ว่าสิ่งไหนมีความดีด้านใดและบกพร่องในส่วนใด ควรพิจารณาถึงรูปแบบและจุดประเทศในการเขียนแล้วจึงชี้ข้อดีข้อบกพร่องโดยพิจารณาให้เหมาะสมกับประเภทของงานของการเขียนนั้นๆ คุณภาพของถ้อยคำสำนวนที่ใช้มีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด เป็นต้น
ลักษณะของคำถามในเรื่องการอ่านตีความ
อาจจะถามเกี่ยวกับคำถามดังต่อไปนี้
1. การตั้งชื่อเรื่อง (สามารถสรุปใจความสำคัญ ข้อความที่อ่านได้)
2. รู้จุดมุ่งหมายของผู้เขียน
3. รู้ความหมายของข้อความ
4. รู้ความสำคัญของเรื่อง
5. รู้ความหมายของคำศัพท์
6. รู้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
7. ระเบียบวิธีคิด (คือการวิเคราะห์และประเมินผลได้)
8. ความสัมพันธ์ระหว่างย่อหน้าและระหว่างประโยค
9. วิธีนำเสนอเรื่อง (อธิบายตามลำดับขั้น ยกตัวอย่าง ชี้ผลลัพท์ที่สัมพันธ์กัน ให้คำนิยาม ด้วยถ้อยคำที่แปลกออกไป)
10. การประเมินข้อความ เนื้อเรื่องที่อ่าน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น