วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สาระสำคัญ พรบ.ตำรวจ 2547

พรบ.ตำรวจ 2547

1.            พรบ.มีทั้งหมด 128 มาตรา  แบ่งเป็น 7 ลักษณะ 10 หมวด  ได้แก่
1.1    ลักษณะ 1  หมวดทั่วไป
1.2    ลักษณะ 2 การจัดระเบียบราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1.3    ลักษณะ 3  ก.ต.ช.
1.4    ลักษณะ 5 ยศตำรวจและชั้นข้าราชการตำรวจ
1.5    ลักษณะ 5  ก.ตร.
1.6    ลักษณะ 6  ระเบียบข้าราชการตำรวจ
1.6.1                หมวด 1 ตำแหน่งและการกำหนดตำแหน่ง
1.6.2                หมวด 2  การบรรจุ การแต่งตั้งและการเลื่อนขั้นเงินเดือน
1.6.3                หมวด 3  เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มอื่น
1.6.4                หมวด 4  การรักษาราชการแทนและปฏิบัติราชการแทน
1.6.5                หมวด 5 วินัยและการรักษาวินัย
1.6.6                หมวด 6  การดำเนินการทางวินัย
1.6.7                หมวด 7  การออกจากราชการ
1.6.8                หมวด 8  การอุทธรณ์
1.6.9                หมวด 9  การร้องทุกข์
1.6.10        หมวด 10  เครื่องแบบตำรวจ
1.7    ลักษณะ 7  กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
2.            ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  คือ พันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร
3.            ให้ไว้ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2547
4.            พรบ.ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา  คือ วันที่ 15 ก.พ.2547  (ประกาศวันที่ 14 ก.พ.2547)
5.            ให้ยกเลิก พรบ.เก่า 17 ฉบับ (เป็นเรื่องเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการตำรวจ/วินัยตำรวจ/ยศตำรวจ/เครื่องแบบตำรวจ)
6.            ข้าราชการตำรวจ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หมายความรวมถึงข้าราชการตำรวจที่ได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการอื่นด้วย
7.            ประธานกรรมการ หมายถึง ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
8.            กรรมการ หมายถึง กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
9.            กองทุน หมายถึง กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
10.    ให้นายกรัฐมนตรี รักษาการตามระเบียบนี้และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พรบ.นี้
11.    สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นตรงต่อของนายกรัฐมนตรี  และมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นหัวหน้าส่วนราชการ
12.    การโอนอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทางอาญาให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นแทนตำรวจ  สามารถทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
13.    ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่   ก.ต.ช.  กำหนด
14.    ข้าราชการอาจให้แบ่งเป็นทั้งประเภทมียศและไม่มียศ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
15.    วัน เวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดของตำรวจ ให้เป็นไปตามคณะรัฐมนตรีกำหนด แต่ในกรณีจำเป็น ก.ต.ช.จะกำหนดให้แตกต่างก็ได้ 
16.    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แบ่งส่วนราชการ 2 ส่วน ได้แก่ 1. สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ     2. กองบัญชาการ
17.    การแบ่งส่วนราชการของสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกองบัญชาการ หรือจัดตั้งกองบัญชาการใหม่ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา  ส่วนการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการให้ออกเป็นกฎกระทรวง
18.    ผู้บัญชาการมีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ทุก 4 เดือน หรือตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด
19.    คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ เรียกย่อว่า ก.ต.ช. มีหน้าที่ กำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ  มีทั้งหมด 11 คน  ประกอบด้วย
19.1                    มีนายกเป็นประธาน/รมว.กระทรวงมหาดไทย/รมว.กระทรวงยุติธรรม/ปลัดกระทรวงมหาดไทย/ปลัดกระทรวงยุติธรรม /เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ/ผบ.ตร. เป็นกรรมการโดยตำแหน่งทั้งหมด (รวม 7 คน)
19.2                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน โปรดเกล้าจากคนที่ได้รับการสรรหาจากกรรมการโดยตำแหน่ง ต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมาย/การงบประมาณ/การพัฒนาองค์กร/การวางแผนหรือการบริหารและจัดการ
20.    แต่งตั้งยศพลตำรวจโทขึ้นไปเป็นเลขาฯ ก.ต.ช. และพลตำรวจตรีไม่เกิน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขาฯ ก.ต.ช.
21.    ก.ต.ช.มีอำนาจหน้าที่ออกประกาศ ระเบียบ มติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจ และพิจารณาคัดเลือกตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งเป็น ผบ.ตร.ตามที่นายกเสนอ
22.    องค์ประกอบ วิธีการสรรหา หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ เป็นไปตามที่ ก.ต.ช.กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
23.    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ต.ช.และ ก.ตร. ต้องมีคุณสมบัติได้แก่ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด/อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี/ไม่เล่นการเมือง/ล้มละลาย
24.    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ต.ช.มีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 4 ปี เกิน 2 วาระไม่ได้
25.    กรรมการคุณวุฒิ ก.ต.ช./ก.ตร. พ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุ 70 ปี /มติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
26.    ถ้าวาระการดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ต.ช.เหลือไม่ถึง 90 วัน ไม่ดำเนินการสรรหา
27.    ประธานกรรมการ/กรรมการโดยตำแหน่ง จะมอบให้คนอื่นมาประชุมแทนไม่ได้
28.    ยศตำรวจมี 14 ยศ
29.    การแต่งตั้งชั้นสัญญาบัตรให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.ตร. และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
30.    ผู้มีอำนาจแต่งตั้งว่าที่ชั้นสัญญาบัตร 
30.1  ว่าที่พลตรีขึ้นไป (นายก)
30.2  ว่าที่ร้อยตรี-พันเอก (ผบ.ตร.)
31. การแต่งตั้งชั้นประทวน (ผบ.ตร.หรือ ผบช.ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ผบ.ตร.)
32. การถอดหรือออกจากสัญญาบัตรให้เป็นไปตามระเบียบ ตร.และทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการ (หรือการออกจากชั้นใดให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่ง)
33.  ก.ตร.ประกอบด้วย
33.1  นายกเป็นประธาน/เลขาธิการ ก.พ./ผบ.ตร./จเรตำรวจแห่งชาติ/รอง ผบ.ตร.  ทั้งหมดเป็นกรรมการ ก.ตร.โดยตำแหน่ง
            33.2  ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งโปรดเกล้าจากผู้ได้รับคัดเลือก จำนวน 11 คน  ดังนี้
                        - ผู้เคยเป็นตำรวจระดับผู้บัญชาการขึ้นไป 5 คน พ้นจากการเป็นตำรวจเกิน 1 ปี
                        - ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์/รัฐศาสตร์/เศรษฐศาสตร์/รัฐประศาสนศาสตร์/อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม/สาขาอื่นที่ ก.ตร.กำหนด จำนวน 6 คน (หรือเลือกจากคนที่เคยเป็นตำรวจเกิน 10 ปีและอายุไม่เกิน 65 ปี อาจได้รับเลือก 1 คน)
หมายเหตุ***จำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ตร.เพิ่ม  ขึ้นอยู่กับจำนวนรอง ผบ.ตร.ที่เพิ่มขึ้นด้วย***
34.        ผู้บัญชาการ สนง.ก.ตร.เป็นเลขา ก.ตร.  รและรอง สนง.ก.ตร.เป็นผู้ช่วยเลขาฯ
35.        ก.ตร.มีหน้าที่ กำหนดนโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคล เช่น การอบรมตำรวจ/ออกระเบียบเกี่ยวกับการสอบ/การบรรจุ/การแต่งตั้ง โยกย้าย/การลงโทษ/กำหนดชั้นยศ เงินเดือน/อนุมัติ ควบคุม กพ.7
36.        ก.ตร.มีอำนาจออกกฎ ก.ตร.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
37.        กรรมการ ก.ต.ช. จะเป็นกรรมการ ก.ตร. ขณะเดียวกันไม่ได้  ยกเว้น นายกและ ผบ.ตร.
38.        กรรมการคุณวุฒิ ก.ตร.มาจาก
38.1    กรรมการระดับ ผบช.ขึ้นไป  ให้ตำรวจระดับผู้กำกับ พนง.สอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ  เป็นผู้เลือก
38.2    กรรมการสาขาต่างๆ ให้กรรมการโดยตำแหน่งและคนที่ได้รับเลือกจาก 38.1 เป็นผู้เลือก
39.        ให้ประธาน ก.ตร.รับสมัครแล้วจัดส่งรายชื่อผู้สมัครกรรมการ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วจัดส่งรายชื่อไปให้ผู้มีสิทธิ์เลือกก่อนวันเลือกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน
40.        กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ตร.มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี วาระเดียว
41.        ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน ก่อนครบวาระ
42.        ถ้ามีผู้ร้องไม่น้อยกว่า 6 คนขอให้ประชุม ให้ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ เรียกประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง
43.        ตำแหน่งข้าราชการตำรวจ มี 13 ตำแหน่ง  เฉพาะจุดสำคัญดังนี้
-ผู้บังคับการ                เทียบ  พนง.สอบสวน ผชช.พิเศษ
-รองผู้บังคับการ          เทียบ  พนง.สอบสวน ผชช.
-ผู้กำกับการ                 เทียบ  พนง.สอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ
-รองผู้กำกับการ           เทียบ  พนง.สอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ
-สารวัตร                      เทียบ  พนง.สอบสวนผู้ชำนาญการ
-รองสารวัตร               เทียบ  พนง.สอบสวน
44.  ในส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะให้มีตำแหน่งใด  เท่าใด  คุณสมบัติอย่างไร  มียศหรือไม่  ให้เป็นไปตามที่ ก.ตร. กำหนด
45.  การกำหนดตำแหน่งตั้งแต่ ผู้บังคับการ/พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก    ก.ต.ช.ก่อน
46.  การแต่งตั้งพนักงานสอบสวนมีจำนวนเท่าใดเป็นไปตามระเบียบ ก.ตร.
47.  การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
            - ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โปรดเกล้าฯ จาก  ยศพลตำรวจเอก
            - ตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ  และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โปรดเกล้าฯ จาก ยศตำรวจโทหรือพลตำรวจเอก
            - ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โปรดเกล้าฯ  จาก ยศพลตำรวจโท
            - ผู้บัญชาการ  โปรดเกล้าฯ  จาก  ยศพลตำรวจตรีหรือพลตำรวจโท
            - รองผู้บัญชาการ  โปรดเกล้าฯ  จาก  ยศตำรวจตรี
            - ผู้บังคับการ/พนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  โปรดเกล้าฯ  ยศพันตำรวจเอก (ต้องได้รับเงินเดือนพิเศษ)
            - รองผู้บังคับการ  และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาย  แต่งตั้งจาก ยศพันตำรวจเอกสาร หรือ ยศพันตำรวจเอกได้รับเงินเดือนพิเศษ
            - ผู้กำกับการ  แต่งตั้งจาก  ยศพันตำรวจโทหรือพันตำรวจเอก
            - รองผู้กำกับการ/พนง.สอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ  แต่งตั้งจากพันโท
            - ตำแหน่งสารวัตร และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ  แต่งตั้งจากร้อยตำรวจเอกแต่ไม่สูงกว่าพันตำรวจโท
            -รองสารวัตร/พนง.สอบสวน  แต่งตั้งจากร้อยตรี-ร้อยเอก
            - ผู้บังคับหมู่  แต่งตั้งจาก  สิบตำรวจตรี ดาบตำรวจ
            - รองผู้บังคับหมู่  แต่งตั้งจากชั้นพลตำรวจ
48.  การแต่งตั้ง ผบ.ตร. ให้นายกรัฐมนตรี คัดเลือกแล้วเสนอ ก.ต.ช. เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนำทูลเกล้าฯ
49.  การแต่งตั้งจเร + ผู้ช่วย ผบ.ตร. + ผู้บัญชาการ  ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คัดเลือกแล้วเสนอ ก.ตร. ให้ความเห็นชอบก่อนนำกราบทูล
50.  การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ และ ผู้บังคับการ ใน สง.ตร.
            ผบ.ตร. เลือก-----เสนอ ก.ตร.เห็นชอบ-----นายกนำกราบทูลเพื่อแต่งตั้ง
51.  การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ และ ผู้บังคับการ ในกองบัญชาการ มิได้สังกัด สง.ตร.
            ผบช.คัดเลือก---เสนอ ผบ.ตร.----เสนอ ก.ตร.เห็นชอบ---นายกนำกราบทูลเพื่อแต่งตั้ง
52.  การแต่งตั้ง รอง ผบก.- รอง ผบ.หมู่ ใน สง.ตร.หรือกองบัญชาการมิได้สังกัด
            ผบ.ตร.(ผบช.) แต่งตั้งโดยมีผู้บังคับการเสนอแนะด้วย
53.  การแต่งตั้ง ผกก.- รอง ผบ.หมู่ ไม่สูงกว่าเดิมในกองบัญชาการสังกัด สง.ตร. ให้ ผบช.แต่งตั้ง โดย ผบก.แนะนำ
54.  การแต่งตั้งจากส่วนราชการหนึ่งไปส่วนราชการหนึ่ง
            54.1 การแต่งตั้ง รอง ผบช. และ ผบก. ระหว่าง สง.ตร.กับกองบัญชาการไม่สังกัด  (ผบ.ตร.เสนอเห็นชอบ นายกนำกราบทูล)
            54.2  การแต่งตั้ง รอง ผบก.-รอง ผบ.หมู่ ระหว่าง สง.ตร.กับกองบัญชาการไม่ได้สังกัด (ผบ.ตร.หรือ ผบช.แต่งตั้ง)
            54.3  การแต่งตั้ง รอง ผบก.-รอง ผบ.หมู่ ระหว่างกองบัญชาการมิได้สังกัด (ผบช.แต่งตั้ง)

6 ความคิดเห็น:

  1. การเปิดสอบตำรวจปี 2555 จะเริ่มเมื่อไหร่ พอจะทราบหรือจะหาข้อมูลได้ที่ไหน? แล้วพอจะมีแนว ข้อสอบตำรวจ สายธุรการ การเงินมั๊ยครับ

    ตอบลบ
  2. ข่าวล่าสุดสอบ 11 มีนาคม 2555 นะคะ แต่ยังไม่เห็นหนังสือ แต่่จำนวนอัตราออกมาแล้ววันจันทร์จะอัพเดตให้ค่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ10 มกราคม 2555 เวลา 11:38

    ขอเอกสารการติวหน่อยครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ15 ธันวาคม 2555 เวลา 13:16

    ขอคุณ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ15 ธันวาคม 2555 เวลา 14:13

    ขอบคุณ

    ตอบลบ